บัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานของไทย (Thai Medicines Terminology – TMT) คืออะไร ?

รัฐบาลปัจจุบันมีนโยบายสำคัญที่จะพัฒนาระบบประกันสุขภาพภาครัฐให้เป็นเอกภาพ ประชาชนในทุกระบบหลักประกันสุขภาพได้รับสิทธิประโยชน์หลักเท่าเทียมกัน ในขณะเดียวกันรัฐก็ต้องควบคุมค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสามารถบริหารจัดการระบบการเงินการคลังสุขภาพในระยะยาว (Long term health financing) ให้มีประสิทธิภาพ สัดส่วนของค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วเกิดจากการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสมและฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น แต่รัฐไม่มีกลไกระบบข้อมูลสารสนเทศด้านยาในการกำกับ ติดตาม และตรวจสอบ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เนื่องจากยังไม่มีบัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานระดับประเทศที่สามารถตอบสนองระบบข้อมูลสารสนเทศด้านยาและการรักษาพยาบาลได้หลายระบบงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับยาของกองทุนประกันสุขภาพของประเทศทั้ง 3 กองทุน คณะกรรมการกำหนดระบบบริหารยา เวชภัณฑ์ การเบิกจ่ายค่าตรวจวินิจฉัยและค่าบริการทางการแพทย์ที่มีรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน จึงให้มีการดำเนินการพัฒนาบัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานของไทย (Thai Medicines Terminology – TMT) เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้บัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานเดียวกัน TMT พัฒนาโดยอ้างอิงมาตรฐานสากล ที่เรียกว่า Systematized Nomenclature of Medicine–Clinical Terms (SNOMED-CT) มาปรับให้เข้ากับบริบทระบบยาของประเทศไทย

ความหมาย

บัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานของไทย คือ บัญชีข้อมูลรายการยาที่มีใช้ในระบบบริการสุขภาพไทย ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลมาตรฐานด้านยา 3 ส่วน ดังนี้

  1. คำจำกัดความมาตรฐานของยาแต่ละตัว (Term/Name) ได้แก่ คำจำกัดความมาตรฐานที่เกี่ยวกับสารเคมีของตัวยา (substance), ชื่อสามัญ (Generic), ชื่อการค้า (Trade name), dose form, strength, unit of measure, และ pack size
  2. รหัสที่ชี้เฉพาะ (Uniquely identify) ไปที่คำจำกัดความมาตรฐานของแต่ละมุมมอง (Concepts) ของยาแต่ละตัว
  3. ความสัมพันธ์ (Relationships) ระหว่างแต่ละมุมมอง (Concepts) ของยาแต่ละตัว ที่สามารถบ่งชี้ ถึงความสัมพันธ์ของ concept ต่างๆของยาแต่ละตัว เช่น synonym concept, substance concept, trade product concept เป็นต้น

Dictionary ของ data Model ที่ใช้ในรหัสยามาตรฐาน TMT

ประโยชน์ของการมีบัญชีข้อมูลและรหัสยามาตรฐาน

  1. สามารถใช้งานได้หลายระบบงาน
    • ใช้ในระบบข้อมูลการบริหารจัดการ (administration) ด้านยา ควบคุมการใช้ยาให้เหมาะสมได้ทั้งในระดับประเทศ และระดับองค์กร (กองทุนประกันสุขภาพ,โรงพยาบาล) เช่น การติดตามกำกับดูแลค่าใช้จ่ายด้านยา บริหารจัดการสินค้าคงคลัง (inventory) เป็นต้น
    • ใช้ในระบบข้อมูลการให้บริการของผู้ให้บริการ (Health Care Services) เช่น การสั่งยา (drug prescription) การจ่ายยา (drug dispensing) การบริหารยาให้กับผู้ป่วย (drug administration) ทำให้ระบบการบริการสุขภาพมีความปลอดภัยมากขึ้น
    • สนับสนุนการพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการตัดสินใจทั้งด้านบริหารจัดการ (Executive and Management Decision support) และระบบการตัดสินใจทางคลินิก (Clinical decision support)
    • ใช้ในระบบข้อมูลทางสาธารณสุข (Public Health) เช่น ระบบข้อมูลด้านระบาดวิทยาและการติดตาม/ประเมินการใช้ยา (drug utilization) ภาวะไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากยา (Adverse Drug Reaction-ADR) ภาวะดื้อยา (drug resistance)
    • ทำให้เกิดระบบระบบข้อมูลสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Health Records- EHR) ต่างระบบกัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศทางานร่วมกันได้ (Interoperability) สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลในระบบการส่งต่อผู้ป่วย (Referral system)
  2. เพิ่ม Competitive advantage ให้กับประเทศไทยในการให้บริการสุขภาพระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นผู้นาในสมาคมอาเซียน (Asian Community) เนื่องจากสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลการใช้ยาของผู้ป่วยในประเทศพัฒนาแล้ว สนับสนุนการเป็น Medical Hub ในเอเชียแปซิฟิก

ทำไมควรใช้รหัสยา TMT เป็นมาตรฐานรหัสยา

คุณสมบัติที่ควรมี รหัสยา TMT รหัสยา 24 หลัก
ข้อมูลขนาดการใช้ (Unit of Use) และขนาดบรรจุ (Pack size)
การเบิกจ่ายยาเป็นรายรายการในระดับ Trade product
Uniquely identify ยา ทั้งในระดับ Generic และ Trade product
จำนวนหลักของรหัส 6-18 24
ระบบตรวจสอบการลงรหัสผิด (Check digit system)
เชื่อมโยงระบบข้อมูลการสั่งยา (Drug Prescribing) ของแพทย์กับระบบข้อมูลการจ่ายยา (Drug Dispensing) ของเภสัชกรและระบบข้อมูลการบริหารยาของพยาบาลได้ (Drug Administrating)
สอดคล้องกับมาตรฐานสากล (SNOMED-CT)

 

เอกสารเผยแพร่

[Download not found]

ที่มา/ข้อมูลเพิ่มเติม