Hospital Accreditation (HA) คือ กระบวนการเรียนรู้เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาระบบงานภายในของโรงพยาบาล โดยมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบและพัฒนาทั้งองค์กร ทำให้องค์กรเกิดการเรียนรู้ มีการประเมินและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง สำหรับสถานพยาบาลที่ได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพ มาอย่างต่อเนื่องและมีความพร้อมที่จะขอรับการรับรองตามมาตรฐาน HA (Accreditation) หรือสถานพยาบาลที่จะขอต่ออายุการรับรอง (Re-accreditation) สามารถจัดส่งเอกสารประกอบการขอประเมินและรับรองมายังสถาบัน

การพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลคืออะไร

การพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล คือกลไกกระตุ้นและส่งเสริมให้โรงพยาบาลมีการพัฒนาคุณภาพทั้งองค์กรอย่างมีระบบ โดยมีกิจกรรมหลัก 3 ขั้นตอน คือ การพัฒนาคุณภาพ การประเมินคุณภาพ และการรับรองคุณภาพ.
การรับรองคุณภาพจะกระทำโดยองค์กรภายนอกที่เป็นกลาง เพื่อเป็นหลักประกันว่าผลการรับรองนั้นจะเป็นที่น่าเชื่อถือ. สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นโดยข้อบังคับตาม พ.ร.บ.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ทำหน้าที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลโดยอาศัยการประเมินตนเองร่วมกับการประเมินจากภายนอกเป็นกลไกกระตุ้นที่สำคัญ.

ก่อนที่จะขอรับรองคุณภาพจากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล เป็นหน้าที่ของโรงพยาบาลที่จะต้องประเมินและพัฒนาคุณภาพตามกรอบมาตรฐานโรงพยาบาลมาก่อน

เป้าหมายของการพัฒนาคุณภาพ

ผู้ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลคือ ผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ และโรงพยาบาล. ภาพที่ 1.2 แสดงให้เห็นว่าหากความต้องการของทั้ง 3 กลุ่มนี้สอดคล้องกันมากเท่าไร จะยิ่งทำให้การพัฒนาคุณภาพมีความยั่งยืนมากขึ้นเท่านั้น.

  • ประโยชน์สำหรับผู้ป่วยได้แก่ ความเสี่ยงต่อการประสบความสูญเสียหรือภาวะแทรกซ้อนลดลง, คุณภาพการดูแลรักษาดีขึ้น, ได้รับการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยและศักดิ์ศรีของความเป็นคนมากขึ้น
  • ประโยชน์สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ ความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยจากการทำงานลดลง, ความเสี่ยงต่อการเข้าใจผิดระหว่างผู้ป่วยกับเจ้าหน้าที่ลดลง, สิ่งแวดล้อมในการทำงานและการประสานงานดีขึ้น, เจ้าหน้าที่ได้เรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเอง
  • ประโยชน์สำหรับโรงพยาบาล ได้แก่ การเป็นองค์กรเรียนรู้, สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสู่ความเป็นเลิศ, ทำให้องค์กรอยู่รอดและยั่งยืน

เป้าหมายของการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลได้แก่:

  1. การกระตุ้นให้โรงพยาบาลเกิดแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
  2. การสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม (social accountability) ซึ่งโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนจะต้องแสดงออก เพื่อให้สังคมมีความมั่นใจต่อระบบบริการของโรงพยาบาล ด้วยการยินยอมให้องค์กรภายนอกซึ่งมีความรู้ความเข้าใจระบบการดูแลผู้ป่วยเข้าไปประเมินตามกรอบที่ตกลงร่วมกัน
  3. การให้ข้อมูลข่าวสารเพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้บริโภค.
  4. การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน โดยการที่ผู้บริหารและผู้ประกอบวิชาชีพของโรงพยาบาลต่างๆ ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและผู้ประเมินในลักษณะของอาสาสมัคร

คณะกรรมการ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

รูปภาพการดำเนินงาน

โรงพยาบาลโพธิ์ไทรรับการเยี่ยมเสริมพลังจากทีมพี่เลี้ยงคุณภาพเครือข่ายQLN จังหวัดอุบลราชธานี ครั้งที่ 1/2559
ณ วันที่ 4 มีนาคม 2559

[fbalbum url=https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1070777316300339.1073741894.311434945567917]

ตาราง/กำหนดการ ประชุม

[eventlist categories=”7″ limit=10 noresults=”No Events Available”]
HAOR_Logo
ธำรงบันไดขั้นที่ 2 เตรียมความพร้อมสำหรับการ Accredit ขั้นที่ 3