เราอาเซียนไง….จะใครหล่ะ
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations)
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อังกฤษ: Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) เป็นองค์การทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ไทย บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย อาเซียนมีพื้นที่ราว 4,435,670 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 590 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2553 จีดีพีของประเทศสมาชิกรวมกันคิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นลำดับที่ 9 ของโลกเรียงตามจีดีพี อาเซียนมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ
อาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามใน ปฏิญญากรุงเทพ อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ หลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศในปัจจุบัน กฎบัตรอาเซียนได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น เขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะประกอบด้วยสามด้าน คือ ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558
ข้อมูล
- คำขวัญ
“One Vision, One Identity, One Community”
(หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม) - สัญลักษณ์อาเซียน
ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้น มัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันโดยสีที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียน เป็นสีที่สำคัญของธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน- สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
- สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
- สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
- สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
- สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat)
สำนักเลขาธิการอาเซียน ตั้งอยู่ที่ กรุงจากาตาร์ - เลขาธิการ
ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ (เริ่มดำรงตำเเหน่งเมื่อปี พ.ศ.2551) - ปฏิญญากรุงเทพ
8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 - กฎบัตรอาเซียน
16 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - ประเทศสมาชิก
อาเซียนเริ่มก่อตั้งครั้งแรก ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ปัจจุบันอาเซียน ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่
- สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
- ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)
- สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)
- สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore)
- ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)
- บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
- สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam)
- สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) (The Lao People’s Democratic Republic of Lao PDR)
- สหภาพพม่า (Union of Myanmar)
- ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)
- อาเซียน +3 ประกอบด้วย กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น
- อาเซียน+6 ประกอบด้วย กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ กลุ่มประเทศ +3 และประเทศออสเตรเลีย อินเดียและนิวซีแลนด์
- กฎบัตรอาเซียน ( ASEAN Charter)
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) คือ ธรรมนูญอาเซียนที่จะมีการวางกรอบของกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการขับเคลื่อนเพื่อการรวมตัวเป็นประชาคม อาเซียนภายในปี 2015 (พ.ศ.2558)เพื่อให้อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลในภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและเคารพในกติกาการทำงานระหว่างกันมากยิ่งขึ้น
เอกสารเผยแพร่
มารู้จักอาเซียนกันเถอะ (1136 downloads ) Asian Minibook (1041 downloads )ข้อมูลอ้างอิง/แหล่งศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
- The Association of Southeast Asian Nations
- การเตรียมความพร้อมของบุคลากรเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอโพธิ์ไทรเข้าสู่ประชาคมอาเซียนผ่านช่องทาง “English and AEC Today”
- สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- สวัสดีชาวอาเซียน เปิดแล้ว…ยังไงต่อ? : มติชน
- กำเนิดประชาคมอาเซียน : ไทยรัฐ
About Man Friday
Application Developer, Photographer and WordPress aficionado. Particularly interested in relational database design, In usability, UX and accessibility on software development. I just wear glasses, Lives in Ubonratchathani, Thailand.