All posts by ประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลโพธิ์ไทร

โรงพยาบาลโพธิ์ไทรรับมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์บริจาคจาก นพ.ธนพล หวังธีระประเสริฐและนพ. สุวรัตน์ วงศ์จิตราภรณ์ รวมมูลค่า 264,575 บาท

เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2560 นายแพทย์อิทธิศักดิ์ เจริญทรัพย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโพธิ์ไทรและเจ้าหน้าที่ เป็นตัวแทนรับมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์บริจาคจาก นพ.ธนพล หวังธีระประเสริฐ และนพ. สุวรัตน์ วงศ์จิตราภรณ์

  1. เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (AED)
  2. เครื่องจี้ไฟฟ้า
  3. เครื่องดูดเสมหะ
  4. ชุดตรวจ หู คอ จมูก พร้อมชุดชาร์จ
  5. โคมไฟหัตถการ LED พร้อมล้อเลื่อน

รวมมูลค่า 264,575 บาท

โรงพยาบาลโพธิ์ไทรขอขอบคุณท่านผู้มีจิตศรัทธาที่ร่วมบริจาคในครั้งนี้ ท่านผู้มีจิตศรัทธาที่ประสงค์ติดต่อบริจาคสามารถติดต่อได้ที่ โรงพยาบาลโพธิ์ไทร โทรศัพท์. 045-496000, 045-496058

นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ (Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP)

วันที่ 28 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาทิสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(สพฉ.) สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สป.สธ.) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) สำนักงานประกันสังคม(สปส.) กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง สมาคมโรงพยาบาลเอกชน วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย ได้ร่วมแถลงข่าว“นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” (Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP) หลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เรื่อง “หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต”

  1. UCEP คืออะไร UCEP คือ นโยบายรัฐบาล “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” Universal Coverage for Emergency Patients (UCEP) กรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนนอกคู่สัญญา 3 กองทุน(กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, กองทุนประกันสังคม กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ) และในอนาคตจะขยายไปยังกองทุนต่างๆ เพื่อให้เกิดความครอบคลุม ไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตอันจะทําให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตได้รับ การคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงบริการ อย่างปลอดภัยโดยไม่มีเงื่อนไขในการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล เพื่อให้ไม่เป็นอุปสรรคและความเสี่ยงของการดูแลรักษา โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายภายใน 72 ชั่วโมงหรือพ้นภาวะวิกฤต
  2. ใครบ้างที่ใช้สิทธินี้ได้ ผู้ที่จะใช้สิทธินี้ได้ต้อง เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน ในพื้นที่ที่อยู่ใกล้และเป็นโรงพยาบาลเอกชนนอกคู่สัญญากับกองทุนที่ผู้ป่วยมีสิทธิ์ โดยเริ่มที่สามกองทุนก่อน คือ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ,กองทุนประกันสังคม,กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ
  3. เจ็บป่วยฉุกเฉินแค่ไหนถึงจะใช้สิทธิUCEP ได้ ผู้ที่จะใช้สิทธินี้ได้ต้องเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ตามหลักเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน ที่ กพฉ.ประกาศกำหนด และ รายละเอียดเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ที่ สพฉ. กำหนดกรณีกลุ่มอาการฉุกเฉินวิกฤต คือ หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด แบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด หรือมีอาการอื่นร่วม ที่มีผลต่อการหายใจระบบการไหลเวียนโลหิตและระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
  4. ขั้นตอนในการใช่สิทธิ์ UCEP เป็นอย่างไร ประชาชนทุกคนควรตรวจสอบสิทธิพื้นฐานการรักษาพยาบาลของตนเองในเบื้องต้นว่าเป็นสิทธิอะไร เช่น สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, สิทธิประกันสังคม สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ หรือหากไม่ทราบ ให้ทำการขอตรวจสอบสิทธิ ณ รพ.ทุกแห่ง หรือ สำนักงานเขตภายในกรุงเทพมหานคร กรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนในพื้นที่ ที่อยู่ใกล้ และเป็นโรงพยาบาลนอกคู่สัญญากับกองทุนที่ผู้ป่วยมีสิทธิให้แจ้ง รพ.ให้รับทราบว่าขอใช้สิทธิUCEP โรงพยาบาลดำเนินการประเมินผู้ป่วยตามแนวทางทีสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกำหนด(Preauthorization)ในกรณีมีปัญหาในการคัดแยกให้ปรึกษา ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) ได้ตลอด 24 ชั่วโมง. หมายเลข 02-8721669 เมื่อโรงพยาบาลดำเนินการประเมินผู้ป่วยแล้ว จะแจ้งผลการประเมินให้กับผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยรับทราบผลการประเมิน หากผลการประเมินเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ผู้ป่วยสามารถเข้ารับบริการตามระบบ UCEP โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายภายใน 72 ชั่วโมงหรือพ้นภาวะวิกฤต กรณีผลการประเมินไม่เข้าเกณฑ์ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต หากต้องการรักษาที่โรงพยาบาลเดิม ผู้ป่วยต้องรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลเอง
  5. ในกรณีที่มีข้อถกเถียงเรื่องอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินว่าเข้าขั้นวิกฤตหรือไม่นั้นจะดำเนินการอย่างไร ในกรณีนี้ โรงพยาบาลเป็นผู้คัดแยกผู้ป่วยตามแนวทางทีสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกำหนด(Preauthorization)ในกรณีมีปัญหาในการคัดแยกให้ปรึกษา ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  6. รูปแบบการทำงานของ ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) ทำงานอย่างไร ประชาชนสามารถแจ้งเรื่องผ่านได้ทางไหน ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(ศคส.สพฉ.) มีการดำเนินงานดังนี้ ดำเนินการตรวจสอบประเมินความถูกต้องเหมาะสมในการPreauthorization และการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ของโรงพยาบาลเอกชนเมื่อมีผู้ป่วยเข้าระบบ ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) จะแจ้งให้กองทุนเจ้าของสิทธิทราบโดยเร็ว เพื่อให้กองทุนเจ้าของสิทธิดำเนินการประสานไปยังโรงพยาบาลต้นสังกัดของผู้ป่วย ติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องจนพ้นภาวะวิกฤตจนสามารถย้ายไปโรงพยาบาลคู่สัญญากับกองทุนที่ผู้ป่วยมีสิทธิ กรณีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ ระบบคัดแยกความเจ็บป่วยฉุกเฉิน (Preauthorization)โดยสามารถ ติดต่อได้ที่ 02 872 1669
  7. หากมีข้อโต้แย้งเรื่องการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตจะใช้เวลานานหรือไม่ในการพิจารณาให้ผู้ป่วยได้รับการรักษา กรณีที่มีปัญหาการตัดสินการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต. แพทย์ประจำศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ( ศคส.สพฉ.) ร่วมกับวิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย จะประเมินภาวะฉุกเฉินของผู้ป่วยภายใน 15 นาที โดยคำวินิจฉัยของศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติให้ถือเป็นที่สุด
  8. เมื่อรักษาครบ 72 ชั่วโมงแล้ว กระบวนการขั้นตอนส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาต่อในโรงพยาบาลจะดำเนินการอย่างไร ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) รับทราบว่ามีผู้ป่วยวิกฤตเข้าระบบ เมื่อโรงพยาบาลเอกชนมีการประเมินและบันทึกการประเมินผู้ป่วยในระบบโปรแกรม Preauthorization และ ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) จะแจ้งต่อให้กองทุนเจ้าของสิทธิทราบโดยเร็ว เพื่อให้กองทุนเจ้าของสิทธิดำเนินการประสานไปยังโรงพยาบาลต้นสังกัดของผู้ป่วย เพื่อเตรียมการรับย้ายผู้ป่วยเข้าสู่ระบบปกติให้ได้ทันภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชน เมื่อครบ 72 ชั่วโมงแล้วหรือพ้นภาวะวิกฤตแล้ว
  9. หากประสานไปยังโรงพยาบาลต้นทางที่ผู้ป่วยมีสิทธิในการรักษาพยาบาลอยู่แล้วรพ.แจ้งว่าไม่มีเตียงรองรับผู้ป่วย จะมีการดำเนินการเช่นไร และหากมีค่าใช้จ่ายใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายนั้น ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ์ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) จะแจ้งไปยังกองทุนต่างๆเพื่อให้ดำเนินการตามเงื่อนไขของแต่ละกองทุน

ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
6 กลุ่มผู้ป่วยวิกฤต รักษาฟรีทุกที่ 72 ชม. | 02-04-60 | ชัดทันข่าว เสาร์-อาทิตย์ : ไทยรัฐทีวี

 

โรงพยาบาลโพธิ์ไทรรับ Pre-Survey เพื่อเตรียมความพร้อมและมุ่งสู่กระบวนการขอรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน HA

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมาโรงพยาบาลโพธิ์ไทรรับ Pre-Survey เพื่อเตรียมความพร้อมและมุ่งสู่กระบวนการขอรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน HA จากอาจารย์นพ.จิระวัตร วิเศษสังข์ และอาจารย์สุกัญญา บุญชมศุภชัย สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) หรือ สรพ. ณ ห้องประชุมร่มโพธิ์ไทร โรงพยาบาลโพธิ์ไทร

[fbalbum url=https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1457786354266098.1073741962.311434945567917]

เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลโพธิ์ไทรร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ เนื่องในโอกาสวันเปิดอาคารผู้ป่วยในหลังใหม่

เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2560 เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลโพธิ์ไทรร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ เนื่องในโอกาสวันเปิดอาคารผู้ป่วยในหลังใหม่ พร้อมทั้งร่วมแจกขนมเด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วย

[fbalbum url=https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1437873122924088.1073741959.311434945567917]

รายละเอียดตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ 20 ปี กระทรวงสาธารณสุข ข้อมูล ณ วันที่ 8 มี.ค. 2560

กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) ตามนโยบายรัฐบาลที่จะนำประเทศไทยก้าวสู่ Thailand 4.0 เพื่อรองรับอนาคตที่มีความเป็นสังคมเมือง สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งในปี 2573 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุถึง 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมด รวมทั้งการเข้าสู่การเชื่อมต่อการค้าและการลงทุน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงระบบสุขภาพ ซึ่งในการดำเนินงานได้กำหนดแผนเป็น 4 ระยะ คือ

  • ระยะที่ 1 การปฏิรูประบบสุขภาพ
  • ระยะที่ 2 เป็นการสร้างความเข้มแข็ง
  • ระยะที่ 3 ดำเนินการให้เกิดความยั่งยืน
  • ระยะที่ 4 ประเทศไทยจะเป็น ผู้นำด้านการแพทย์และสาธารณสุข 1 ใน 3 ของเอเชีย

เมื่อสิ้นแผนในปี 2579 โดยแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเป้าหมาย คือ ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน ภายใต้การพัฒนาความเป็นเลิศใน 4 ด้าน คือ

  1. การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค (P&P Excellence)
  2. ระบบบริการ (Service Excellence)
  3. การพัฒนาคน (People Excellence)
  4. ระบบบริหารจัดการ (Governance Excellence)

ในการนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข “ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข และระบบสุขภาพยั่งยืน” หน่วยงานต่างๆจึงได้ร่วมกันจัดทำแผน และรายละเอียดตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ 20 ปีภายใต้กรอบ 16 แผนงาน 48 โครงการ และ 96 ตัวชี้วัด เพื่อการกำกับติดตามผลการดำเนินงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานพร้อมทั้งจัดเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัดดังกล่าวให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
Download “รายละเอียดตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ 20 ปี กระทรวงสาธารณสุข ข้อมูล ณ วันที่ 8 มี.ค. 2560 (ไฟล์ PDF)” PDF.zip – Downloaded 4553 times – 9.10 MB Download “รายละเอียดตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ 20 ปี กระทรวงสาธารณสุข ข้อมูล ณ วันที่ 8 มี.ค. 2560 (ไฟล์ Word Excel)” WORD_EXCEL.zip – Downloaded 2099 times – 2.65 MB

พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 60 – ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

สามารถดาวน์โหลดฉบับเต็มได้ที่
Download “พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐” 24.PDF – Downloaded 829 times – 113.90 KB

ที่มา

โรงพยาบาลโพธิ์ไทรร่วมประชุมกับโรงพยาบาลตระการพืชผลเรื่องการดำเนินงานตาม Service Plan และการส่งต่อ 6 สาขา

เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ผ่านมา นายแพทย์อิทธิศักดิ์ เจริญทรัพย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโพธิ์ไทรและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลโพธิ์ไทรร่วมประชุมการดำเนินงานตาม Service Plan และการส่งต่อ 6 สาขาในเขตพื้นที่โซน 2 ร่วมกับโรงพยาบาลตระการพืชผล ณ ห้องประชุม 1 ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโพธิ์ไทร
[fbalbum url=https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1415673971810670.1073741958.311434945567917]

อาลัยยิ่งนายแพทย์ชัยธัช รักราชการ (ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโพธิ์ไทร 2532-2534)

บันทึกความทรงจำ (2532-2534) ณ โรงพยาบาลโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี

คนไข้ที่คุณหมอดูแล

รวมความรู้สึกของชาวโรงพยาบาลโพธิ์ไทรที่มีต่อ นายแพทย์ชัยธัช รักราชการ (คุณหมอป้อ)

นพ.อิทธิศักดิ์ เจริญทรัพย์

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโพธิ์ไทร

กุหลาบ เหล่าสิงห์

เจ้าหน้าที่รพ.โพธิ์ไทร

ไร (อุไร เหล่าสิงห์)

เจ้าหน้าที่รพ.โพธิ์ไทร

นายประเด่น หลักคำ

เจ้าหน้าที่รพ.โพธิ์ไทร

ณัฐสรวง ภาเรือง

เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นางยมลภัทร มะลิเลิศ

หัวหน้ากลุ่มงานประกันสุขภาพ ยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์

นางปิยะภรณ์ ประวัติกลาง

ผู้ช่วยเหลือคนไข้ รพ.โพธิ์ไทร

นางไกรวัลย์ ศรีชารัตน์ (แหว๋)

ผู้ช่วยทันตะ (อดีตแม่ครัว)

นายศิริศักดิ์ สุพรรณนนท์

อดีตลูกน้องท่านผอ.ครับ

นายวีระ และนางสุดารัตน์ แก้วเนตร

นางบุญฉวี อ่อนพันธ์

เจ้าหน้าที่รพ.โพธิ์ไทร

อุไร สุพรรณนนท์

นักวิชาการสาธารณสุข(บำนาญ) กรมควบคุมโรค

นายสวัสดิ์ สายใจ

เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลโพธิ์ไทร

 

เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอโพธิ์ไทรรับการนิเทศงานผสมผสาน ประจำปีงบประมาณ 2560 ครั้งที่ 1

เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2560 ที่ผ่านมา เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอโพธิ์ไทรรับการนิเทศงานผสมผสาน ประจำปีงบประมาณ 2560 ครั้งที่ 1 นำโดย นางศิริวิทย์ หลิ่มโตประเสริฐ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี และขอขอบพระคุณ นายแพทย์ จิณณพิภัทร ชูปัญญา ท่านนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดที่เป็นเกียรติมาเยี่ยมให้กำลังใจพื้นที่
[fbalbum url=https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1372706172774117.1073741954.311434945567917]

โรงพยาบาลโพธิ์ไทรรับมอบโทรทัศน์แอลอีดี ขนาด 24 นิ้วบริจาคจากคุณเจียมจิต ถามะพันธ์

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2559 โรงพยาบาลโพธิ์ไทรโดยนายแพทย์อิทธิศักดิ์ เจริญทรัพย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโพธิ์ไทรรับมอบโทรทัศน์แอลอีดี ขนาด 24 นิ้วบริจาคจากคุณเจียมจิต ถามะพันธ์

โรงพยาบาลโพธิ์ไทรขอขอบคุณท่านผู้มีจิตศรัทธาที่ร่วมบริจาคในครั้งนี้ ท่านผู้มีจิตศรัทธาที่ประสงค์ติดต่อบริจาคสามารถติดต่อได้ที่ โรงพยาบาลโพธิ์ไทร โทรศัพท์. 045-496000, 045-496058