All posts by ประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลโพธิ์ไทร

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เครื่องสำอาง 34ยี่ห้อ ห้าม ผลิต-นำเข้า-ขาย มีผลบังคับใช้ 29 มีนาคม 2559

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม มีราชกิจจานุเบกษา ได้ออกประกาศตอนพิเศษ 72 ง เกี่ยวกับ ประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กําหนดชื่อเครื่องสําอางที่ห้ามผลิต นําเข้า หรือขาย พ.ศ. 2559 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 6(1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องสําอาง พ.ศ. 2558 ลงนามในประกาศโดย นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคําแนะนําของคณะกรรมการเครื่องสําอาง ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้เครื่องสําอางที่มีชื่อดังต่อไปนี้ เป็นเครื่องสําอางที่ห้ามผลิต นําเข้า หรือขาย ประกอบด้วย

  1. BEANNE บีแอน ครีมไข่มุกตราแตร
  2. แอนตี้-ฟาร์ ครีม
  3. แอนตี้-ฟาร์ โลชั่นกันฝ้า ปรับผิว
  4. ROSE ครีมขจัดฝ้า
  5. FAR-ACT ครีมรักษาฝ้า
  6. CN คลินิก 99
  7. ครีมฝ้าเมลาแคร์
  8. โลชั่นกันแดด กันฝ้า เมลาแคร์
  9. ครีมวินเซิร์ฟ
  10. โลชั่นวินเซิร์ฟ ลดฝ้ากันแดด
  11. MUI LEE HIANG PEARL CREAM
  12. เอสจี โลชั่นปรับสภาพผิว
  13. เลนาว ครีมบํารุงผิวหน้ากลางคืน
  14. NEW CARE นิวแคร์ ครีมประทินผิว
  15. NEW CARE นิวแคร์ โลชั่นปรับสภาพผิว
  16. 3 ทรีเดย์ ไบรเทน แอนด์ รีไวเทน ครีมลดริ้วรอยหมองคล้ำ
  17. 3 ทรีเดย์ ไบรเทน แอนด์ รีไวเทน โลชั่นป้องกันแสงแดด
  18. 3 ทรีเดย์ เนเชอรัล ครีมทาสิว
  19. 3 ทรีเดย์ เนเชอรัล โลชั่นป้องกันแสงแดด
  20. พรีม ไบรเทน แอนด์ รีไวเทน ครีมลดริ้วรอย
  21. พรีม ไบรเทน แอนด์ รีไวเทน โลชั่นป้องกันแสงแดด
  22. มิสเดย์ ครีมแก้สิว
  23. มิสเดย์ ครีมแก้ฝ้า
  24. พอลล่า ครีมทาสิว
  25. พอลล่า ครีมทาฝ้า
  26. พอลล่า โลชั่นกันแดดรักษาฝ้า
  27. ครีมชาเขียว DR. JAPAN
  28. ครีมชาเขียว MISS JAPAN
  29. ชิชาเดะ ครีมหน้าขาว โสมผสมไข่มุกญี่ปุ่น
  30. ครีมบัวหิมะ หลิง หลิง
  31. ครีม QIAN MEI
  32. ครีม QIAN LI
  33. ครีม CAI NI YA
  34. ครีม JIAO LING

ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคบตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 ผู้ใดผลิตเพื่อขาย นำเข้าเพื่อขาย หรือรับจ้างผลิตเครื่องสำอางดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน200,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ หรือผู้ใดขายเครื่องสำอางดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

Thai_Government_Gazette_21

Download “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดชื่อเครื่องสำอางที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือขาย พ.ศ. 2559” 21.PDF – Downloaded 3185 times – 29.33 KB

ที่มา:

แจ้งการประชุมประจำเดือนโรงพยาบาลโพธิ์ไทร วันที่ 23 มีนาคม 2559 เวลา 14.00น. ณ ห้องประชุมร่มโพธิ์ไทร

แจ้งการประชุมประจำเดือนโรงพยาบาลโพธิ์ไทร วันที่ 23 มีนาคม 2559 เวลา 14.00น. ณ ห้องประชุมร่มโพธิ์ไทร ขอให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลโพธิ์ไทรทุกคนเข้าร่วมประชุมในวันเวลาดังกล่าว

ภาพบรรยากาศการประกวดอสม.ดีเด่นระดับชาติ 2559 สาขาคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมาเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอโพธิ์ไทรเข้าร่วมการประกวดอสม.ดีเด่นระดับชาติ 2559 สาขาคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ นางนงลักษณ์ คุณพาที อสม.ตำบลสารภี รพ.สต.สารภี ณ โรงเรียนบ้านคำกลาง ต.สารภี อ.โพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งได้รับเกียรติจากนายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นประธานคณะกรรมการประกวด โดยได้รับการต้อนรับจากนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี นายแพทย์สุรพร ลอยหาและข้าราชการ ประชาชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข คณะอสม.อำเภอโพธิ์ไทรร่วมต้อนรับ
[fbalbum url=https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1071228336255237.1073741897.311434945567917]

[หมดเขตรับสมัคร] โรงพยาบาลโพธิ์ไทร รับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลลูกจ้างรายเดือน จำนวน 2 ตำแหน่ง (รับสมัคร วันที่ 1 – 22 มีนาคม 2559)

[หมดเขตรับสมัคร] ด้วยโรงพยาบาลโพธิ์ไทร มีความประสงค์รับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อ เป็นลูกจ้างชั่วคราว เงินนอกงบประมาณเพื่อบรรจุเป็นลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน จำนวน 2 ตำแหน่ง ดังนี้

  1. ตำแหน่ง พนักงานประกอบอาหาร จำนวน 1 อัตรา
  2. ตำแหน่งนักกายภาพบำบัด จำนวน 1 อัตรา

วันเวลาและสถานที่รับสมัคร

ยื่นใบสมัครที่กลุ่มงานการจัดการ ในระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2559 ถึงวันที่ 22 มีนาคม 2559 (ในวันเวลาราชการ)

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบคัดเลือก

รายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบคัดเลือกจะประกาศให้ทราบในวันที่ 23 มีนาคม 2559 เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป ณ บอร์ดประชาสัมพันธ์ หน้าห้องกลุ่มงานการจัดการ

วันเวลาและสถานที่สอบ

กำหนดวันสอบในวันที่ 25 มีนาคม 2559 เวลา 08.30 น. ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลโพธิ์ไทร

การประกาศรายชื่อผู้สอบคัดเลือกได้

ประกาศรายชื่อผู้สอบคัดเลือกได้ในวันที่ 28 มีนาคม 2559 ณ บอร์ดประชาสัมพันธ์ หน้าห้องกลุ่มงานการจัดการ และรายงานตัวเพื่อปฏิบัติงานในวันที่ 1 เมษายน 2559 เวลา 08.00 น. เป็นต้นไปที่กลุ่มงานการจัดการ โรงพยาบาลโพธิ์ไทร

Download “รายละเอียดการรับสมัครงาน_0032_301_21-209.pdf” Job_0032_301_21-209.pdf – Downloaded 1714 times – 417.91 KB

ไข้เลือดออกป้องกันได้ ด้วยมาตรการ 5ป 1ข

ไข้เลือดออกป้องกันได้ ด้วยมาตรการ 5ป 1ข

 

มาตรการ 5ป  ข ร่วมกับการป้องกันยุงและการแพร่เชื้อจากผู้ป่วยด้วยการใช้ตะไคร้หอมกันยุง โดยขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนให้ดำเนินการ ดังนี้

กำจัดลูกน้ำด้วยมาตรการ 5ป 1ข คือ ปิด เปลี่ยน ปล่อย ปรับ ปฏิบัติและขัดล้างไข่ยุงทุกสัปดาห์ ได้แก่

  1. ปิด ปิดภาชนะขังน้ำให้มิดชิดป้องกันยุงลายลงไปวางไข่
  2. เปลี่ยน เปลี่ยนน้ำในแจกัน ถังเก็บน้ำ ทุก 7 วัน เพื่อตัดวงจรลูกน้ำที่จะกลายเป็นยุง
  3. ปล่อย ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะใส่น้ำถาวร
  4. ปรับ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ปลอดโปร่ง โล่งสะอาด ลมพัดผ่าน ไม่เป็นที่เกาะพักของยุงลาย
  5. ปฏิบัติ ปฏิบัติเป็นประจำจนเป็นนิสัย และลงมือทำทันที

และมาตรการ 1 ข. คือ การขัดล้างภาชนะก่อนเปลี่ยนน้ำใหม่ทุกสัปดาห์เพื่อกำจัดไข่ยุงที่เกาะอยู่ภายในภาชนะ ทั้งนี้ ยุงลายตัวเมีย 1 ตัวหลังผสมพันธุ์จะตั้งท้องและวางไข่ได้ตลอดชีวิตครั้งละประมาณ 100 ฟองมีชีวิตอยู่ประมาณ 1 เดือนไข่ยุงทนต่อสภาพความแห้งแล้งได้นานหลายเดือนเมื่อไข่ถูกน้ำท่วมถึงจะฟักตัวกลายเป็นลูกน้ำอย่างรวดเร็วภายในเวลา 20 – 60 นาที

โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก

ความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง

stroke_info-01

ความผิดปกติของหลอดเลือดสมองที่ทำให้สมองขาดเลือด แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง พบได้ประมาณ 80% หลอดเลือดสมองอุดตันเกิดได้จากลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในบริเวณอื่นไหลไปตามกระแสเลือดจนไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง หรืออาจเกิดจากมีลิ่มเลือดก่อตัวในหลอดเลือดสมอง และขยายขนาดใหญ่ขึ้นจนอุดตันหลอดเลือดสมอง ส่วนสาเหตุของหลอดเลือดสมองตีบอาจเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบ มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพในการลำเลียงเลือดลดลง
  • หลอดเลือดสมองปริแตกหรือฉีกขาด (hemorrhagic stroke) พบได้ประมาณ 20% ของโรคหลอดเลือดสมอง เกิดจากหลอดเลือดมีความเปราะบางร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้บริเวณที่เปราะบางนั้นโป่งพองและแตกออก หรืออาจเกิดจากหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่นจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดปริแตกได้ง่าย ซึ่งอันตรายมากเนื่องจากทำให้ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลงอย่างฉับพลันและทำให้เกิดเลือดออกในสมอง ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วได้

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองมีหลายสาเหตุ แบ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้ และปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้มักมีสาเหตุจากสุขภาพโดยรวมและรูปแบบการดำเนินชีวิต

  • ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้
    • อายุ เมื่ออายุมากขึ้น หลอดเลือดก็จะเสื่อมตามไปด้วย โดยผิวชั้นในของหลอดเลือดจะหนาและแข็งขึ้นจากการที่มีไขมันและหินปูนมาเกาะ รูที่เลือดไหลผ่านจะแคบลงเรื่อยๆ
    • เพศ พบว่าเพศชายมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าเพศหญิง
    • ภาวะการแข็งตัวของเลือดเร็วกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดการจับตัวกันของเม็ดเลือดและมีลิ่มเลือดเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าคนปกติ
  • ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้
    • ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจึงมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้มากกว่าคนปกติ
    • เบาหวาน เป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดแข็งทั่วร่างกาย หากเกิดที่สมองจะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนปกติ 2-3 เท่า
    • ไขมันในเลือดสูง เป็นความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองเช่นเดียวกับโรคหลอดเลือดหัวใจ คือภาวะไขมันสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือด ทำให้กีดขวางการลำเลียงเลือด
    • โรคหัวใจ เช่น โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือด ถ้าลิ่มเลือดไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง ก็จะทำให้สมองขาดเลือดได้
    • การสูบบุหรี่ สารนิโคตินและคาร์บอนมอนอกไซด์ทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลง และเป็นตัวทำลายผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดแข็งตัว พบว่าการสูบบุหรี่เพียงอย่างเดียวเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองถึง 3.5%
    • ยาคุมกำเนิด ในผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูง
    • โรคซิฟิลิส เป็นสาเหตุของหลอดเลือดอักเสบและหลอดเลือดแข็ง
    • การขาดการออกกำลังกาย

อาการของโรคหลอดเลือดสมอง

เมื่อสมองขาดเลือดจะทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งอาการแสดงต่างๆ จะมากหรือน้อยขึ้นกับระดับความรุนแรงและตำแหน่งของสมองที่ถูกทำลาย เช่น

  • ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้าและ/หรือบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย
  • พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก
  • ปวดศีรษะ เวียนศีรษะทันทีทันใด
  • ตามัว มองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก หรือตาบอดข้างเดียวทันทีทันใด
  • เดินเซ ทรงตัวลำบาก

stroke_info-02

อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ในรายที่มีภาวะสมองขาดเลือดแบบชั่วคราว (transient ischemic attack: TIA) อาจมีอาการเตือนเหล่านี้เกิดขึ้นชั่วขณะแล้วหายไปเอง หรืออาจเกิดขึ้นได้หลายครั้งก่อนจะมีอาการสมองขาดเลือดแบบถาวร ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาการของโรคหลอดเลือดสมองจัดเป็นอาการร้ายแรงและอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หรือหากไม่ถึงชีวิต ก็อาจทำให้กลายเป็นโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองและต้องใช้เวลาในการรักษาฟื้นฟูสุขภาพต่อไป

การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง

ในปัจจุบันมีวิธีการตรวจวินิจฉัยที่มีประสิทธิภาพและสามารถบ่งชี้ถึงตำแหน่งของสมองและหลอดเลือดที่ผิดปกติ รวมถึงภาวะและสาเหตุที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ เช่น

  • การตรวจเลือดเพื่อดูความเข้มข้นและความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
  • การตรวจระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือด
  • การตรวจหาการอักเสบของหลอดเลือด
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram) เพื่อดูจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ
  • การตรวจสมองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computerized tomography) เพื่อดูว่าสมองมีภาวะขาดเลือดหรือภาวะเลือดออกในสมองหรือไม่
  • การตรวจอัลตราซาวนด์หลอดเลือดบริเวณคอ (carotid duplex scan) เพื่อดูขนาดและการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงบริเวณคอที่ไปเลี้ยงสมองด้วยคลื่นความถี่สูง
  • การตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging) เพื่อดูเนื้อสมอง หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดที่คอ เป็นวิธีการที่ไม่เจ็บปวดและมีประสิทธิภาพสูง

การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

การรักษาขึ้นกับสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองว่าเป็นหลอดเลือดสมองตีบหรือหลอดเลือดสมองแตก โดยจะมีแนวทางการรักษาที่แตกต่างกัน

  • หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน เป้าหมายของการรักษาคือทำให้เลือดไหลเวียนได้อย่างปกติ โดยทางเลือกในการรักษามีหลายวิธี ในบางกรณีแพทย์อาจให้ยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งพบว่าจะได้ผลดีกับผู้ที่มีอาการและอาการแสดงของโรคหลอดเลือดสมองและรีบมาโรงพยาบาลภายในระยะเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง
  • หลอดเลือดสมองปริแตกหรือฉีกขาด เป้าหมายของการรักษาคือการควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต ในกรณีที่เลือดออกมาก แพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมองที่อาจเกิดขึ้นหากมีการเปลี่ยนแปลงความดันโลหิต

การป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

การป้องกันเป็นการรักษาโรคหลอดเลือดสมองที่ดีที่สุด และควรป้องกันก่อนการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง คือ ต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมให้หลอดเลือดเกิดการตีบ อุดตัน หรือแตก เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ หรือขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น

  • ตรวจเช็กสุขภาพประจำปีเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง ถ้าพบต้องรีบรักษาและพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
  • ในกรณีที่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หลอดเลือดตีบ อุดตัน หรือแตก ต้องรักษาและรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอตามแผนการรักษาของแพทย์ ห้ามหยุดยาเอง และควรรีบพบแพทย์ทันทีถ้ามีอาการผิดปกติ
  • ควบคุมระดับความดันโลหิต ไขมัน และน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ควบคุมอาหารให้สมดุล หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม หวาน มัน
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
  • งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ถ้ามีอาการเตือนที่แสดงว่าเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอชั่วคราว ควรรีบมาพบแพทย์ถึงแม้ว่าอาการเหล่านั้นจะหายได้เองเป็นปกติ
  • ผู้ที่เป็นหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันแล้ว แพทย์จะให้การรักษาโดยใช้ยาเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง แต่การใช้ยาเหล่านี้จำเป็นต้องมีการติดตามผลและใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เนื่องจากถ้ามีการใช้ยาผิด ประมาทเลินเล่อ หรือไม่มีการติดตามดูแลอย่างสม่ำเสมออาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรง เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

เอกสารเผยแพร่

Download “Stroke-present.zip” Stroke-present.zip – Downloaded 1864 times – 747.12 KB

สื่อประชาสัมพันธ์

https://www.youtube.com/watch?v=RwGc7-R1v0Q

 

การให้ความรู้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมอง (ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง, เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง)

เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559 ทีผ่านมา โรงพยาบาลโพธิ์ไทรได้จัดการให้ความรู้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมอง (ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง, เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง) โดยทีมผู้ดูแลคลินิคโรคหลอดเลือดในสมอง
[fbalbum url=https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1062070500504354.1073741893.311434945567917]

ศูนย์มาตรฐานรหัสและข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ (THCC) ประกาศ โครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข Version 2.1 (มกราคม 2559) ปีงบประมาณ 2559

ศูนย์มาตรฐานรหัสและข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ (THCC) สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขประกาศ คู่มือการปฏิบัติงานการจัดเก็บและส่งข้อมูลตามโครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข Version 2.1 (มกราคม 2559)

Download “โครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข Version 2.1 (มกราคม 2559)” 43file_18022016_1621_final.pdf – Downloaded 3271 times – 5.24 MB Download “หนังสือจัดส่งคู่มือโครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข Version 2.1 (มกราคม 2559)” Letters43file%2011022016.pdf – Downloaded 2239 times – 126.96 KB

ที่มา : ศูนย์มาตรฐานรหัสและข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ (THCC)

หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 ตั้งแต่เวลา 08.30 น. ณ บ้านผาชัน หมู่ที่ 7 ตำบลสำโรง อำเภอโพธิ์ไทร

หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 ตั้งแต่เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป ณ บ้านผาชัน หมู่ที่ 7 ตำบลสำโรง อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีการให้บริการ

  • ตรวจรักษาโรคทั่วไป
  • ให้บริการทันตกรรม (ตรวจฟัน ถอนฟัน)
  • ให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพ
  • มีบริการนวด ประคบ และจ่ายยาสมุนไพรของบริการแพทย์แผนไทยเคลื่อนที่

โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี โรงพยาบาลโพธิ์ไทรและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพธิ์ไทร

ภาพบรรยากาศหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว.
ขอบคุณภาพจากคุณจันทร์เพ็ญ ศุภโกศล
[fbalbum url=https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1058916494153088.1073741892.311434945567917]

การประชุมหัวหน้าส่วนราชการอำเภอโพธิ์ไทร ครั้งที่ 2/2559 วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 ณ ห้องประชุมร่มโพธิ์ไทร โรงพยาบาลโพธิ์ไทร

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 อำเภอโพธิ์ไทรได้จัดการประชุมหัวหน้าส่วนราชการอำเภอโพธิ์ไทร ครั้งที่ 2/2559 ณ ห้องประชุมร่มโพธิ์ไทร โรงพยาบาลโพธิ์ไทร
[fbalbum url=https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1050802801631124.1073741889.311434945567917]