แนวทางการดูแลโรคทางจิตเวชเด็กและวัยรุ่น 4 โรคหลัก (สติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น บกพร่องทางการเรียน) สำหรับเครือข่ายบริการสาธารณสุข
Download “แนวทางการดูแลโรคจิตเวชเด็กและวัยรุ่น-4-โรคหลัก” แนวทางการดูแลโรคจิตเวชเด็กและวัยรุ่น-4-โรคหลัก.pdf – Downloaded 2095 times – 3.96 MBCategory Archives: เรื่องเด่นสุขภาพ
แนวทางการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบในวงกว้างอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะใช้มาตรการป้องกันควบคุมโรคหลายมาตรการ เช่น คัดกรองและเฝ้าระวังโรค กักตัวผู้มีความเสี่ยงรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า งดจัดกิจกรรมที่รวมกลุ่มคนจำนวนมาก ทำความสะอาดสถานที่และพื้นผิวสัมผัสร่วม เป็นต้น แต่สิ่งที่เป็นความหวังของรัฐบาลและประชาชนในขณะนี้ คือวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือเรียกสั้น ๆ ว่า วัคซีนโควิด 19 นั้น ประเทศไทยได้มีการเตรียมความพร้อมที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาวัคซีนดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงการใช้วัคซีนที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพได้มากที่สุดเท่าที่ศักยภาพของประเทศจะดำเนินการได้
ขณะนี้วัคซีนโควิด 19 หลายชนิดได้รับการพัฒนาและผลิตสำเร็จ วัคซีนบางชนิดได้รับอนุญาตทะเบียนแบบฉุกเฉิน (Emergency Use Authority: EUA) จากประเทศของบริษัทผู้ผลิตเองและจากประเทศที่นำวัคซีนไปใช้และวัคซีนบางชนิดอาจจะยังไม่ได้รับอนุญาตทะเบียน แต่รัฐบาลบางประเทศก็นำไปใช้ก่อน สำหรับประเทศไทยกระทรวงสาธารณสุขคำนึงถึงความปลอดภัยและประโยชน์ที่จะเกิดแก่ประชาชน ดังนั้นวัคซีนโควิด 19 ทุกชนิดที่นำมาใช้ในประเทศจะต้องผ่านการพิจารณาและยอมรับจากคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการด้านวิชาการคณะอนุกรรมการอำนวยการบริหารจัดการการให้วัคซีนฯ และคณะทำงานหลายคณะ ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายสาขาและภาคส่วน ที่สำคัญจะต้องผ่านการพิจารณาอนุญาตขึ้นทะเบียนแบบพิเศษ เรียกว่า “Conditional approval for emergency use authorization” จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนทุกคนที่สมัครใจรับวัคซีน
วัคซีนโควิด 19 ที่จัดหาเป็นของประชาชนในประเทศ การที่จะให้ประชาชนได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่มีประสิทธิภาพ สามารถป้องกันการเกิดโรคหรือการเกิดโรคที่รุนแรง ส่วนสำคัญเกิดจากการปฏิบัติงานของเหล่าบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทุกสังกัด ซึ่งต้องระดมแรงกายแรงใจกับภาระงานที่หนักและเวลาที่มีจำกัด สิ่งหนึ่งที่จะสามารถช่วยให้การดำเนินงานสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ “แนวทางการให้บริการวัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564 ของประเทศไทย” ซึ่งกรควบคุมโรคได้จัดทำขึ้น โดยได้รับความกรุณาจากศาสตราจารย์แพทย์หญิงกุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ ในการทบทวนองค์ความรู้ทั้งหมดเกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 รวมถึงคณาจารย์จากโรงเรียนแพทย์ สมาคม/ราชวิทยาลัยแพทย์สาขาต่าง ๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญจากกรมควบคุมโรคและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในการเขียนและขัดเกลาเนื้อหาในแนวทาง ซึ่งเป็นฉบับแรกสำหรับการปฏิบัติงานในช่วงต้น
การเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19
- ตรวจสอบเป็นผู้ที่ยังไม่ควรฉีดวัคซีน
- หากตั้งครรภ์ ควรเลื่อนนัดฉีดเป็นช่วงหลังคลอดแล้ว
- กำลังรักษาอาการป่วยรุนแรง ควรเลื่อนนัดฉีดไปก่อนจนกว่าหายดี
- มีอาการป่วยก่อนฉีดวัคซีน เช่น ไข้สูง ท้องเสียรุนแรง ควรเลื่อนนัดฉีดไปก่อน
- ตรวจสอบเป็นผู้ที่เคยมีประวัติแพ้วัคซีน หรือแพ้ยา ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนฉีดวัคซีนโควิด
- พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรงดอาหารก่อนการฉีดวัคซีน
- ตรวจสอบเป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ได้รับการลงทะเบียนฉีดวัคซีนได้ (เดือน มี.ค. 2564)
- บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ด่านหน้า
- ประชาชนทั่วไปในพื้นที่เสี่ยง ผู้ที่มีโรคประจำตัว 6 กลุ่ม และภาวะอ้วน
แนวทางปฏิบัติตัวก่อน-หลังฉีดวัคซีน
- หากมีโรคประจำตัวเรื้อรัง แพ้ยา/วัคซีน ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบก่อนฉีดวัคซีน
- ไม่ควรกินยาแก้ไข้ หรือยาแก้ปวด ก่อนฉีดวัคซีน เนื่องจากยาอาจไปกดภาวะการอักเสบทำให้การตอบสนองของวัคซีนลดลง
- รับประทานยาอะไรบ้าง ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเสมอ
- สังเกตอาการข้างเคียงที่โรงพยาบาลก่อนกลับบ้านอย่างน้อย 30 นาที
- เมื่อกลับบ้านแล้ว อาจพบว่ามีผลข้างเคียงเกิดขึ้น เช่น มีผื่น ปวด บวมบริเวณที่ฉีด หรือมีไข้ต่ำๆ ซึ่งหลังจากได้รับวัคซีน 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง อาการจะค่อยๆ ลดลง แต่ถ้าไข้สูงมาก รีบกลับมาพบแพทย์ หรือโทรแจ้ง 1669
- หลังจากการรับวัคซีนแล้ว 3 วัน โอกาสแพ้และผลข้างเคียงจากวัคซีนพบน้อยมาก ควรสังเกตอาการต่อไปจนครบ 30 วัน.
สาเหตุอาการไม่พึงประสงค์หลังได้รับวัคซีน
- ความกลัวการฉีดยา/วัคซีน อาจะถึงขั้นเวียนหัว เป็นลม
- โรค/อาการป่วยอื่นร่วมด้วย เช่น อาจมีอาการอาหารเป็นพิษอยู่, เป็นไข้หวัดแต่อาการไม่มาก เมื่อรับวัคซีนไปพอดีกับไข้ขึ้นร่วมด้วย
- ปฏิกิริยาของวัคซีน บางคนอาจแพ้สารต่างๆ ในวัคซีนจนทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ แต่ก็พบได้น้อยมาก และมีประวัติแพ้วัคซีนนี้มาก่อน
- ข้อจำกัดจากการบริหารวัคซีน อาทิ วัคซีนเย็นเกินไปขณะฉีด อาจจะทำให้ปวดมากขึ้น
กลุ่มบุคคลที่มีโรคประจำตัว ซึ่งถือเป็นกลุ่มนำร่องที่จะได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ก่อน ประกอบด้วย กลุ่มผู้ป่วยโรคต่าง ๆ ดังนี้
- โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง
- โรคหัวใจและหลอดเลือด
- โรคไตวายเรื้อรัง
- โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคอ้วน
- โรคมะเร็ง
- โรคเบาหวาน
เอกสารดาวน์โหลด
Download “แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์ระบาดปี 64 ของประเทศไทย” 1729520210301021023.pdf – Downloaded 1595 times – 3.39 MB Download “แนวทางการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับผู้ป่วยโรคระบบประสาท” 25640316092717AM_Final%2015%20March%20COVID%20vaccine%20and%20neurological%20disease%20with%20reference.pdf – Downloaded 1061 times – 360.18 KBข้อมูลเพิ่มเติม
บรรยากาศการฉีดวัคซีนในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ (วันที่ 18 เมษายน 2564)
RSV ภัยร้ายคุกคามลูกน้อย เสี่ยงปอดบวมฤดูฝน
คำแนะนำเรื่องสุขภาพจิต ในช่วงการระบาดของ COVID-19 สำหรับประชาชนทั่วไปและผู้ปฏิบัติงานทางสาธารณสุข “ตระหนัก ไม่ตระหนก”
สถานการณ์ COVID-19 ยังคงระบาดอยู่ในช่วงนี้ ซึ่งได้มีข่าวสารเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวต่างๆ ออกมามากมาย หลายคนเมื่อได้รับข่าวสารอาจจะเกิดความวิตกกังวลสะสมเพิ่มมากขึ้นจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตได้ โรงพยาบาลโพธิ์ไทรมีคำแนะนำสำหรับการดูแลสุขภาพจิตให้กับทุกๆ คนเพื่อรับมือความวิตกกังวลเกี่ยวกับเชื้อ COVID-19
คำแนะนำสำหรับประชาชนเกี่ยวกับ COVID-19
กินร้อนช้อนกลางล้างมือ สกัดเชื้อโคโรนา
โรคปอดอักเสบจากเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ เริ่มระบาดในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย กรมอนามัย แนะนำประชาชนยึดหลัก กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ สร้างสุขอนามัยที่ดีเป็นเกราะป้องกันการแพร่ระบาด
พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย ให้ข้อมูลว่า โรคปอดอักเสบจากเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ที่พบได้ทั้งการติดเชื้อไวรัส แบคคทีเรีย และสันนิษฐานว่าทำให้เกิดอาการอักเสบของถุงลม ปอด และเนื้อเยื่อโดยรอบ โดยมีอาการไข้ ไอ หายใจเหนื่อยหอบ และเป็นโรคติดต่อได้จากการสัมผัสฝอยละอองที่ผู้ป่วยไอ จาม เมื่อมือสัมผัสอาจผ่านเข้าสู่ร่างกายได้
ประชาชนจึงควรดูแลสุขอนามัยของตนเอง เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคไปยังผู้อื่น โดยให้ยึดหลัก “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ในกรณีข้าวกล่อง อาหารถุง ต้องนำมาอุ่นให้ร้อนก่อนทุกครั้ง ใช้ช้อนกลางในการตักอาหารเมื่อกินอาหารร่วมกับผู้อื่น รวมทั้งหลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะอื่นๆ ร่วมกัน
ที่สำคัญล้างมือก่อนและหลังกินอาหาร รวมถึงหลังการใช้ส้วมด้วย เพราะในชีวิตประจำวันคนเราใช้มือหยิบจับสิ่งต่างๆ อีกทั้งมือยังสามารถนำเชื้อโรคไปปนเปื้อนสิ่งของรอบตัว ซึ่งผู้อื่นอาจได้รับเชื้อโรคไปด้วย การล้างมือจึงเป็นวิธีที่ง่ายและสำคัญเพื่อป้องกันโรค
ทั้งนี้ การล้างมืออย่างถูกวิธีให้ปฏิบัติตาม 7 ขั้นตอนง่ายๆ
- ฝ่ามือถูกัน
- ฝ่ามือถูหลังมือและนิ้วถูซอกนิ้ว
- ฝ่ามือถูฝ่ามือและถูกซอกนิ้ว
- หลังนิ้วมือถูฝ่ามือ
- ถูนิ้วหัวแม่มือโดยรอบด้วยฝ่ามือ
- ปลายนิ้วมือถูฝ่ามือ
- ถูรอบข้อมือโดยล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อโรคได้ถึงร้อยละ 50
หากเดินทางในต่างประเทศ ควรหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด หรือสถานที่ที่มีมลภาวะ และไม่อยู่ใกล้ผู้ป่วยไอ จาม หากเลี่ยงไม่ได้ให้ใส่หน้ากากอนามัยป้องกัน หลีกเลี่ยงการเข้าไปในตลาดค้าสัตว์มีชีวิต โดยเฉพาะสัตว์ที่ป่วยหรือตาย รวมทั้งงดกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ที่ไม่ปรุงสุก ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว เนื่องจากเป็นเชื้อก่อโรคระบบทางเดินหายใจสามารถเข้าสู่ร่างกายได้
ที่สำคัญควรรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ หากพบมีไข้ มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ให้สวมหน้ากากอนามัย และรีบพบแพทย์ทันที
แนะวิธีเลือกใช้ถุงยางอนามัย
จากข้อมูลสำนักระบาดวิทยา พบว่า แม้ภาพรวมสถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2560 โดยรวมลดลง แต่หากจำแนกตามกลุ่มอายุจะพบว่าในกลุ่มวัยรุ่น อายุ 15-24 ปี มีอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้น ทั้งเอชไอวี ซิฟิลิส และโรคหนองใน
ถุงยางอนามัยจัดเป็นเครื่องมือแพทย์ ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2556 กำหนดให้มีมาตรฐาน และข้อกำหนดตาม มอก. 625-2559 หรือ ISO 4074 : 2015 ทั้งนี้ถุงยางอนามัยต้องมีใบอนุญาตในการผลิตหรือนำเข้า และต้องมีการตรวจสอบคุณภาพทุกรุ่นก่อนวางจำหน่ายในท้องตลาด และหากเป็นถุงยางอนามัยที่มีกรรมวิธีการผลิตใหม่ต้องมีการทดสอบคุณภาพโดยห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หากพบว่าถุงยางอนามัยรุ่นใดไม่เข้ามาตรฐาน ผู้ผลิตและผู้นำเข้าจะไม่สามารถวางจำหน่ายได้
ประชาชนควรเลือกซื้อถุงยางอนามัยที่มีเลขใบอนุญาตเครื่องมือแพทย์ ซึ่งรับรองจาก อย. ไม่ควรซื้อถุงยางอนามัยมาเก็บไว้นานๆ และควรสังเกตดูวันหมดอายุก่อนซื้อ ควรเก็บถุงยางอนามัย ในที่แห้ง เย็น ไม่ถูกแสงแดดหรือแสงฟลูออเรสเซนต์ ไม่ควรเก็บถุงยางอนามัยไว้ในช่องเก็บของรถยนต์ซึ่งมีอุณหภูมิสูง ในตอนกลางวัน กระเป๋าใส่ธนบัตร หรือกระเป๋ากางเกงด้านหลัง เพราะการกดทับจะทำให้ถุงยางอนามัยมีรอยรั่วหรือฉีกขาดได้ นอกจากนี้ควรเลือกใช้สารหล่อลื่นที่ละลายในน้ำหรือซิลิโคนออยล์ (silicone oil) เช่น เค-วาย เจลลี่ , คิว-ซี เจลลี่,ดูราเจลหรือกลีเซอรีน ไม่ควรใช้สารหล่อลื่นที่มีส่วนผสมของน้ำมันพืชหรือน้ำมันแร่ เช่น เบบี้ออยล์, น้ำมันทาผิว,ปิโตรเลียม เจลลี (petroleum jelly), น้ำมันปรุงอาหาร และน้ำมันชนิดอื่นๆ เนื่องจากจะทำให้ถุงยางอนามัยเสื่อมสภาพแตกขาดง่าย ทำให้ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือคุมกำเนิดได้
ประโยชน์ของถุงยางอนามัยมีดังนี้
- คุมกำเนิด
หน้าที่ของถุงยางอนามัยคือการป้องกันไม่ให้อสุจิเล็ดลอดเข้าไปในบริเวณช่องคลอดได้ ซึ่งการสวมถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์จะช่วยให้มีโอกาสคุมกำเนิดได้มากขึ้น เมื่อมีการสวมถุงยางอนามัยที่ถูกวิธี ดังนั้นควรสวมถุงยางตลอดเวลาที่มีเพศสัมพันธ์ และสังเกตให้ดีก่อนว่าถุงยางอนามัยที่สวมอยู่นั้นรั่วหรือชำรุดหรือไม่ - ป้องกันการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์
นอกเหนือจากการป้องการการตั้งครรภ์แล้ว ถุงยางอนามัยยังช่วยลดโอกาสการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ต่างๆ เช่น โรคเอดส์ กามโรค หนองใน ซิฟิลิส เป็นต้น เพราะการรติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสกันโดยตรงของสารคัดหลั่งและอวัยวะเพศ ทำให้มีโอกาสได้รับเชื้อโรคหรือเชื้อไวรัสได้ง่าย - ลดการบาดเจ็บจากการมีเพศสัมพันธ์
ถุงยางอนามัยมีส่วนผสมของสารหล่อลื่นในปริมาณที่พอเหมาะ เมื่อใช้ขณะมีเพศสัมพันธ์จะทำให้ลดโอกาสบาดเจ็บของอีกฝ่ายได้ ทั้งนี้ถุงยางอนามัยสามารถใช้ร่วมกับสารหล่อลื่นได้อีกด้วย - ช่วยเพิ่มอรรถรสทางเพศได้
ถุงยางอนามัยในปัจจุบันมีให้เลือกใช้งานได้หลายรูปแบบ ทั้งผิวเรียบ ผิวไม่เรียบ ผิวขรุขระ มีสี มีกลิ่น ให้เลือกใช้งานได้ตามรสนิยมของผู้ใช้งาน จึงทำให้ช่วยเพิ่มอรรถรสในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ได้
ข้อควรรู้เกี่ยวกับถุงยางอนามัย
- ขนาดของถุงยางอนามัย
ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขปี พ.ศ. 2535 เรื่องคุณภาพของถุงยางอนามัยที่ทำจากยางธรรมชาติมีอยู่ 13 ขนาด คือตั้งแต่ 44-56 มิลลิเมตร โดยวัดจากความกว้างของถุงยางที่คลี่แบนราบกับพื้น แต่โดยทั่วไปจะมีจำหน่ายเพียง 2 ขนาดคือ 49 และ 52 มิลลิเมตร การวัดขนาดให้เหมาะสมกับถุงยางอนามัย ให้วัดรอบวงของอวัยวะเพศขณะแข็งตัวเต็มที่เป็นหน่วยมิลลิเมตร และนำไปหารด้วย 2 จะได้เป็นขนาดของถุงยางอนามัยที่เหมาะสม - ห้ามใช้น้ำมันหรือโลชั่นเป็นสารหล่อลื่น
การใช้สารหล่อลื่นอื่นๆ เช่น น้ำมันมะพร้าว โลชั่น เบบี้ออยส์ วาสลีน สบู่เหลว ที่ไม่ใช่เจลหล่อลื่นจะทำให้ถุงยางอนามัยเกิดการฉีกขาดได้ง่ายในขณะมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการใช้ถุงยางอนามัยได้ ดังนั้นควรใช้สารหล่อลื่นที่มีส่วนผสมของซิลิโคนเท่านั้น - ถุงยางอนามัยมีวันหมดอายุ
สำหรับใครที่ได้รับถุงยางอนามัยแจกฟรี หรือถุงยางอนามัยมีถุงยางอนามัยที่ซื้อมาแล้วเก็บไว้เป็นเวลานาน ควรตรวจสอบวันหมดอายุก่อนนำมาใช้งานทุกครั้ง เนื่องจากสารหล่อลื่นที่อยู่ในซองถุงยางอนามัยนั้นอาจเสื่อมสภาพหรือหมดอายุไปแล้ว เมื่อนำมาใช้อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือถุงยางอนามัยชำรุดได้ - บีบไล่อากาศที่ปลายถุงยางก่อนใส่ทุกครั้ง
ก่อนสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งควรบีบไล่อากาศออกก่อน เพราะอากาศที่อยู่บริเวณปลายถุงยางอาจจะทำให้ถุงยางอนามัยแตกหรือฉีกขาดได้ง่าย - สวมถุงยางอนามัยให้ถูกด้าน
เมื่อฉีกถุงยางอนามัยออกมาจากซองแล้ว ให้หันด้านที่มีกระเปาะตรงส่วนหัวออกด้านนอก และสวมลงบนอวัยวะเพศที่แข็งตัวอยู่ ถ้าสวมถูกด้านจะสามารถรูดถุงยางอนามัยลงได้ง่าย
ประชาชนทั่วไปสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โรงพยาบาลโพธิ์ไทร โทรศัพท์ 045-496000 หรือโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง
โน้ตบุ๊ก กับท่านั่งทำงานเพื่อหลีกเลี่ยง Office syndrome
ปัจจุบันนี้มีการใช้โน้ตบุ๊กกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากความสะดวกสบายที่โน้ตบุ๊กเป็นคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำพาไปได้เกือบทุกที่ อีกทั้งประสิทธิภาพของโน้ตบุ๊กก็ไม่ด้อยไปกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และเทคโนโลยียุคปัจจุบันยิ่งสนับสนุนให้มีการใช้โน้ตบุ๊กมากขึ้น
วิธีแก้ไขให้โน้ตบุ๊กให้ได้ท่าทางการทำงานที่ถูก
จากการที่โน้ตบุ๊กเป็นสิ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานในระยะสั้นๆ แต่หากมีความจำเป็นที่ต้องใช้โน้ตบุ๊กเป็นระยะเวลานานๆ หรือใช้แทนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะสามารถทำได้ ดังนี้
- หาแป้นพิมพ์และเมาส์มาใช้เพิ่ม และวางโน้ตบุ๊กบนหนังสือหรือเก้าอี้เล็กๆ ให้สูงขึ้นมาจากโต๊ะจนกระทั่งขอบบนของจออยู่ที่แนวการมองของตาเมื่อมองไปตรงๆ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ลงทุนน้อยที่สุดแต่นั่นหมายความว่าขนาดของจอโน้ตบุ๊กต้องใหญ่พอสมควร
- หากจอโน้ตบุ๊กมีขนาดเล็ก วิธีแก้ไขก็คือใช้โน้ตบุ๊กต่อกับจอภายนอก โดยให้ปรับระดับของจอตามตำแหน่งที่ต้องการเหมือนกับจอคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะทั่วไป แล้วใช้แป้นพิมพ์จากตัวโน้ตบุ๊ก แต่แป้นพิมพ์ต้องปรับให้เอียงลาดเล็กน้อยเพื่อให้ข้อมือไม่งองุ้มและถูกกด
- การจัดที่สมบูรณ์แบบที่สุดคือ ใช้โน้ตบุ๊กโดยต่อกับจอ แป้นพิมพ์ และเมาส์ภายนอก นั่นหมายถึงเราสามารถปรับทุกอย่างได้เหมือนกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โดยใช้ตัวซีพียูของโน้ตบุ๊ก ทำให้ทำงานในลักษณะท่าทางที่เหมาะสมได้ ขณะเดียวกันก็สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องไม่ต้องโอนถ่ายข้อมูล เมื่อต้องเปลี่ยนสถานที่ทำงาน
- คำแนะนำจาก OSHA (the Occupational Safety and Health Administration) องค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและสุขภาพในการทำงานของสหรัฐอเมริกา คำแนะนำจาก OSHA นี้ให้ใช้อุปกรณ์เสริมในลักษณะเอียงประมาณ 30 องศา สำหรับวางโน้ตบุ๊ก ทำให้แป้นพิมพ์เอียงตัวขึ้น จอสูงขึ้น ขณะเดียวกันก็ให้ปรับการนั่งเก้าอี้ให้เอียงไปด้านหลัง ซึ่งมีผลต่อระดับการมองทำให้ไม่ต้องก้มศีรษะ แขนและข้อมือ ไม่มีการกด การบิดและการเอียงของข้อมือมากนัก ขณะเดียวกันหลังพักอยู่เบาะแรงกดต่อหมอนรองกระดูกก็ลดลง
อย่างไรก็ตาม พึงระลึกเสมอว่าโน้ตบุ๊กเหมาะสำหรับการใช้ชั่วคราว ใช้เมื่อทำงานนอกสถานที่หรือเปลี่ยนที่ทำงานบ่อย ดังนั้น ไม่ควรใช้โน้ตบุ๊กต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ
ที่มา : สสส.
แนวทางการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทย 2561
วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่สำคัญและเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขทั่วโลก องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้วัณโรคเป็นปัญหาฉุกเฉินด้านสาธารณสุขทั่วโลก ข้อมูลทางระบาดวิทยาพบว่าปัญหาที่สำคัญสามประเด็นของวัณโรคคือ จำนวนผู้ป่วยวัณโรคที่มีจำนวนมากและมีแนวโน้มจำนวนลดลงช้ากว่าที่จะทำให้สามารถควบคุมวัณโรคได้ในระยะเวลาอันใกล้ ประเด็นถัดมาคือวัณโรคในผู้ติดเชื้อโรคเอดส์ที่ทำให้การดูแลรักษายากลำบากมากขึ้น และประเด็นสุดท้ายคือวัณโรคดื้อยาหลายขนาดที่จำนวนผู้ป่วยมากขึ้นและการรักษาด้วยระบบยาแนวที่สองมีผลสำเร็จที่ต่ำอีกทั้งมีราคาสูง องค์การอนามัยโลกได้จัดให้ประเทศไทยมีปัญหาวัณโรครุนแรงทั้งสามด้าน
ด้วยแนวโน้มของการดูแลรักษาวัณโรคที่เปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้เทคโนโลยีทางอณูชีววิทยาในการวินิจฉัยวัณโรคและการดื้อยาของเชื้อวัณโรค รวมถึงการเข้าถึงการรักษาที่ใช้ยารักษาตัวใหม่และสูตรยาใหม่เพื่อเพิ่มอัตราการหายและลดอัตราการเสียชีวิตจากวัณโรคตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ กรมการแพทย์จึงได้จัดทำคำแนะนำในการดูแลรักษาวัณโรคขึ้นใหม่ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่ได้ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทย และหวังว่าคำแนะนำนี้จะทำให้ผู้ป่วยวัณโรคทุกรายได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมและหายใจวัณโรค ส่งผลให้การควบคุมวัณโรคประสบความสำเร็จจนไม่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขต่อไป
แนวทางการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทย 2561 สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่
Download “แนวทางการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทย” Thai-TB-Guidelines-2018-with-cover.pdf – Downloaded 16622 times – 3.22 MBที่มา : สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย
ตรวจสุขภาพ สำคัญกับทุกวัย (HealthCheckup) – ค้นหาการตรวจสุขภาพที่เหมาะกับคุณ
การตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมเป็นพื้นฐานสำคัญของระบบสุขภาพ มีประโยชน์ในการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค แต่ทั้งนี้การส่งเสริมการตรวจสุขภาพที่เกินจำเป็นและไม่สมเหตุผล ก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อสุขภาพเศรษฐกิจและสังคม และในขณะเดียวกันประชาชนบางส่วนยังไม่ได้รับการตรวจสุขภาพที่จำเป็นเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจหรือเข้าไม่ถึงบริการ รวมทั้งการจัดการให้บริการมีความแตกต่างกัน
การจัดทำแนวทางการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน มีเป้าหมายเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยกรมการแพทย์ร่วมกับองค์กรสภาวิชาชีพด้านสุขภาพสถาบันวิชาการ หน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมดำเนินการจัดทำด้วยกระบวนการทางวิชาการ อ้างอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ที่มีความเป็นปัจจุบัน ผ่านการรับฟังความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิและตัวแทนภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทบทวนและปรับแก้เพื่อพัฒนาเป็นแนวทางที่เหมาะสมตามบริบทของประเทศไทย
โดยในเว็บ Health Checkup จัดทำขึ้นโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยมีบริการ
- ค้นหาการตรวจสุขภาพที่เหมาะกับคุณ สามารถทำแผนการตรวจสุขภาพเพื่อนำไปตรวจที่โรงพยาบาลใกล้บ้านได้
- แบบประเมินสุขภาพด้วยตัวเอง
- แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า
- การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
- แบบทดสอบวัดระดับการติดนิโคติน
- แบบประเมินปัญหาจากการดื่มแอลกอฮอล์
- แบบคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วยที่ใช้ยาและสารเสพติดเพื่อรับการบำบัดรักษา
- การประเมินภาวะโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ
- แบบคัดกรองภาวะกระดูกพรุน
- การประเมินภาวะสมองเสื่อม
- การประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ
- การตรวจมะเร็งเต้านม
- คำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย (BMI)
- รับข่าวสารการตรวจสุขภาพ
ดาวน์โหลดเอกสารเผยแพร่
Download “เเนวทางการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน” on2jzU – Downloaded 2110 times – Download “เเนวทางการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับหญิงมีครรภ์” Y5W2tZ – Downloaded 1248 times – Download “ชุดความรู้การตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน” a8te2a – Downloaded 1332 times –ที่มา : Health Checkup (กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข)
หรือสนใจติดต่อสอบถามการตรวจสุขภาพได้ที่ โรงพยาบาลโพธิ์ไทร (045-496000, 045-496058)