Category Archives: ข่าวทั่วไป

เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอโพธิ์ไทรรับการนิเทศงานสาธารณสุขผสมผสาน ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2565

เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอโพธิ์ไทรรับการนิเทศงานสาธารณสุขผสมผสาน ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2565 นำโดย ดร.แพทย์หญิงน้ำเพชร ตั้งยิ่งยง ทันตแพทย์ (เชี่ยวชาญ)  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ประธานทีมนิเทศงาน ณ ห้องประชุมร่มโพธิ์ไทร โรงพยาบาลโพธิ์ไทร

เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลโพธิ์ไทร ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร​ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช​ บรมนาถบพิตร​ วันชาติและวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564​ ณ​ วัดศรีบุญเรือง

เมื่อวันอาทิตย์ที่​ 5​ ธันวาคม​ 2564 เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลโพธิ์ไทร นำโดย พญ.ธรรมพร ปรัสพันธ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโพธิ์ไทร ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร​ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช​ บรมนาถบพิตร​ วันชาติและวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564​ ณ​ วัดศรีบุญเรือง โดยกำหนดการจัดกิจกรรมมีดังนี้

  • เวลา​ 07.30 น.​ พิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล​ ณ​ วัดศรีบุญเรือง
  • เวลา​ 08.30​ น. พิธีถวายพานพุ่มดอกไม้และพิธีถวายบังคม ณ​ วัดศรีบุญเรือง

โรงพยาบาลโพธิ์ไทรจัดกิจกรรมสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ 1-7 พฤศจิกายน 2564 “สุขภาพจิตไทย วัดใจไปพร้อมกัน”

สัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ 1-7 พฤศจิกายน 2564 สุขภาพจิตไทย วัดใจไปพร้อมกัน
“สุขภาพจิตไทย วัดใจไปพร้อมกัน”

ปรึกษาด้านสุขภาพจิตและตรวจคัดกรอง ณ อาคารผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลโพธิ์ไทร โทร 045-496000, 045-496058 ต่อ 404 ฝ่ายบริการปฐมภูมิ 202 และสายด่วนสุขภาพจิต 1323

 

พิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันปิยมหาราช ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๔

โรงพยาบาลโพธิ์ไทร ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันปิยมหาราช โดยมีเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ประชาชน เข้าแถวทยอยนำพวงมาลา มาถวายราชสักการะแด่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมกัน ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๔ ณ ที่ว่าการอำเภอโพธิ์ไทร อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี

ภาพกิจกรรม

 

ประกาศ โรงพยาบาลโพธิ์ไทรงดให้บริการแพทย์แผนไทย (รับเฉพาะหลังคลอด) และแผนกกายภาพบำบัด ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนกว่าสถาณการณ์จะคลี่คลาย

ประกาศ ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อป้องกันความเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อ โรงพยาบาลโพธิ์ไทรงดให้บริการ

  • แพทย์แผนไทย (รับเฉพาะหลังคลอด)
  • แผนกกายภาพบำบัด (รับเฉพาะผู้ป่วยใน)

ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนกว่าสถาณการณ์จะคลี่คลายสามารถติดต่อสอบถามได้ทางหมาเยเลขโทรศัพท์ 045-496000

 

ประกาศโรงพยาบาลโพธิ์ไทร ขอเลื่อนนัดการฉีดวัคซีน ASTRA ZENECA เข็มที่ 2 จาก 16 สัปดาห์เป็น 12 สัปดาห์

ประกาศโรงพยาบาลโพธิ์ไทร ขอเลื่อนนัดการฉีดวัคซีน ASTRA ZENECA เข็มที่ 2 จาก 16 สัปดาห์เป็น 12 สัปดาห์ ตามนัดหมายดังนี้
เข็มที่ 1 เข็มที่ 2
7 มิถุนายน 2564
11 มิถุนายน 2564
2 กันยายน 2564
8 มิถุนายน 2564
9 มิถุนายน 2564
3 กันยายน 2564
สำหรับผู้ที่ฉีดวัคซีน ASTRA ZENECA เข็มแรก วันที่ 29 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไปสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ตามวันที่ได้รับการนัดหมายเดิม
รายละเอียดเพิ่มเติม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 094-4643011 และรพ.สต.ใกล้บ้าน

แนวทางการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบในวงกว้างอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะใช้มาตรการป้องกันควบคุมโรคหลายมาตรการ เช่น คัดกรองและเฝ้าระวังโรค กักตัวผู้มีความเสี่ยงรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า งดจัดกิจกรรมที่รวมกลุ่มคนจำนวนมาก ทำความสะอาดสถานที่และพื้นผิวสัมผัสร่วม เป็นต้น แต่สิ่งที่เป็นความหวังของรัฐบาลและประชาชนในขณะนี้ คือวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือเรียกสั้น ๆ ว่า วัคซีนโควิด 19 นั้น ประเทศไทยได้มีการเตรียมความพร้อมที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาวัคซีนดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงการใช้วัคซีนที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพได้มากที่สุดเท่าที่ศักยภาพของประเทศจะดำเนินการได้

ขณะนี้วัคซีนโควิด 19 หลายชนิดได้รับการพัฒนาและผลิตสำเร็จ วัคซีนบางชนิดได้รับอนุญาตทะเบียนแบบฉุกเฉิน (Emergency Use Authority: EUA) จากประเทศของบริษัทผู้ผลิตเองและจากประเทศที่นำวัคซีนไปใช้และวัคซีนบางชนิดอาจจะยังไม่ได้รับอนุญาตทะเบียน แต่รัฐบาลบางประเทศก็นำไปใช้ก่อน สำหรับประเทศไทยกระทรวงสาธารณสุขคำนึงถึงความปลอดภัยและประโยชน์ที่จะเกิดแก่ประชาชน ดังนั้นวัคซีนโควิด 19 ทุกชนิดที่นำมาใช้ในประเทศจะต้องผ่านการพิจารณาและยอมรับจากคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการด้านวิชาการคณะอนุกรรมการอำนวยการบริหารจัดการการให้วัคซีนฯ และคณะทำงานหลายคณะ ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายสาขาและภาคส่วน ที่สำคัญจะต้องผ่านการพิจารณาอนุญาตขึ้นทะเบียนแบบพิเศษ เรียกว่า “Conditional approval for emergency use authorization” จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนทุกคนที่สมัครใจรับวัคซีน

วัคซีนโควิด 19 ที่จัดหาเป็นของประชาชนในประเทศ การที่จะให้ประชาชนได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่มีประสิทธิภาพ สามารถป้องกันการเกิดโรคหรือการเกิดโรคที่รุนแรง ส่วนสำคัญเกิดจากการปฏิบัติงานของเหล่าบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทุกสังกัด ซึ่งต้องระดมแรงกายแรงใจกับภาระงานที่หนักและเวลาที่มีจำกัด สิ่งหนึ่งที่จะสามารถช่วยให้การดำเนินงานสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ “แนวทางการให้บริการวัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564 ของประเทศไทย” ซึ่งกรควบคุมโรคได้จัดทำขึ้น โดยได้รับความกรุณาจากศาสตราจารย์แพทย์หญิงกุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ ในการทบทวนองค์ความรู้ทั้งหมดเกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 รวมถึงคณาจารย์จากโรงเรียนแพทย์ สมาคม/ราชวิทยาลัยแพทย์สาขาต่าง ๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญจากกรมควบคุมโรคและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในการเขียนและขัดเกลาเนื้อหาในแนวทาง ซึ่งเป็นฉบับแรกสำหรับการปฏิบัติงานในช่วงต้น

การเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19

  1. ตรวจสอบเป็นผู้ที่ยังไม่ควรฉีดวัคซีน
    • หากตั้งครรภ์ ควรเลื่อนนัดฉีดเป็นช่วงหลังคลอดแล้ว
    • กำลังรักษาอาการป่วยรุนแรง ควรเลื่อนนัดฉีดไปก่อนจนกว่าหายดี
    • มีอาการป่วยก่อนฉีดวัคซีน เช่น ไข้สูง ท้องเสียรุนแรง ควรเลื่อนนัดฉีดไปก่อน
  2. ตรวจสอบเป็นผู้ที่เคยมีประวัติแพ้วัคซีน หรือแพ้ยา ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนฉีดวัคซีนโควิด
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรงดอาหารก่อนการฉีดวัคซีน
  4. ตรวจสอบเป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ได้รับการลงทะเบียนฉีดวัคซีนได้ (เดือน มี.ค. 2564)
    • บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ด่านหน้า
    • ประชาชนทั่วไปในพื้นที่เสี่ยง ผู้ที่มีโรคประจำตัว 6 กลุ่ม และภาวะอ้วน

แนวทางปฏิบัติตัวก่อน-หลังฉีดวัคซีน

  1. หากมีโรคประจำตัวเรื้อรัง แพ้ยา/วัคซีน ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบก่อนฉีดวัคซีน
  2. ไม่ควรกินยาแก้ไข้ หรือยาแก้ปวด ก่อนฉีดวัคซีน เนื่องจากยาอาจไปกดภาวะการอักเสบทำให้การตอบสนองของวัคซีนลดลง
  3. รับประทานยาอะไรบ้าง ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเสมอ
  4. สังเกตอาการข้างเคียงที่โรงพยาบาลก่อนกลับบ้านอย่างน้อย 30 นาที
  5. เมื่อกลับบ้านแล้ว อาจพบว่ามีผลข้างเคียงเกิดขึ้น เช่น มีผื่น ปวด บวมบริเวณที่ฉีด หรือมีไข้ต่ำๆ ซึ่งหลังจากได้รับวัคซีน 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง อาการจะค่อยๆ ลดลง แต่ถ้าไข้สูงมาก รีบกลับมาพบแพทย์ หรือโทรแจ้ง 1669
  6. หลังจากการรับวัคซีนแล้ว 3 วัน โอกาสแพ้และผลข้างเคียงจากวัคซีนพบน้อยมาก ควรสังเกตอาการต่อไปจนครบ 30 วัน.

สาเหตุอาการไม่พึงประสงค์หลังได้รับวัคซีน

  1. ความกลัวการฉีดยา/วัคซีน อาจะถึงขั้นเวียนหัว เป็นลม
  2. โรค/อาการป่วยอื่นร่วมด้วย เช่น อาจมีอาการอาหารเป็นพิษอยู่, เป็นไข้หวัดแต่อาการไม่มาก เมื่อรับวัคซีนไปพอดีกับไข้ขึ้นร่วมด้วย
  3. ปฏิกิริยาของวัคซีน บางคนอาจแพ้สารต่างๆ ในวัคซีนจนทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ แต่ก็พบได้น้อยมาก และมีประวัติแพ้วัคซีนนี้มาก่อน
  4. ข้อจำกัดจากการบริหารวัคซีน อาทิ วัคซีนเย็นเกินไปขณะฉีด อาจจะทำให้ปวดมากขึ้น

กลุ่มบุคคลที่มีโรคประจำตัว ซึ่งถือเป็นกลุ่มนำร่องที่จะได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ก่อน ประกอบด้วย กลุ่มผู้ป่วยโรคต่าง ๆ ดังนี้

  1. โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง
  2. โรคหัวใจและหลอดเลือด
  3. โรคไตวายเรื้อรัง
  4. โรคหลอดเลือดสมอง
  5. โรคอ้วน
  6. โรคมะเร็ง
  7. โรคเบาหวาน

เอกสารดาวน์โหลด

Download “แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์ระบาดปี 64 ของประเทศไทย” 1729520210301021023.pdf – Downloaded 2297 times – 3.39 MB Download “แนวทางการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับผู้ป่วยโรคระบบประสาท” 25640316092717AM_Final%2015%20March%20COVID%20vaccine%20and%20neurological%20disease%20with%20reference.pdf – Downloaded 1667 times – 360.18 KB

ข้อมูลเพิ่มเติม

บรรยากาศการฉีดวัคซีนในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ (วันที่ 18 เมษายน 2564)

ประกาศ โรงพยาบาลโพธิ์ไทรปิดให้บริการคลินิกพิเศษ เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2564 เป็นต้นไป

ประกาศ ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อป้องกันความเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อ โรงพยาบาลโพธิ์ไทรปิดให้บริการคลินิกพิเศษ เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2564 เป็นต้นไปหากมีอาการปกติไม่ต้องมาตามนัด ทางโรงพยาบาลโพธิ์ไทรจะจัดส่งยาให้ท่านถึงบ้านโดยเจ้าหน้าที่รพ.สต.และอสม.ในพื้นที่ของท่าน

สามารถติดต่อสอบถามได้ทางหมาเยเลขโทรศัพท์ 0621070131

หมายเหตุ คลินิกพิเศษ ประกอบด้วย

  1. คลินิกโรคเบาหวาน
  2. คลินิกโรคความดันโลหิต
  3. คลินิกจิตเวช
  4. คลินิกโรคหอบหืด
  5. คลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
  6. คลินิกโรคติดเชื้อ

 

สอบถามรายละเอียดได้ที่ 045-496000 ต่อ 0

ประกาศ โรงพยาบาลโพธิ์ไทรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19

ประกาศ ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อป้องกันความเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อ โรงพยาบาลโพธิ์ไทร กำหนดมาตรการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19
ขอความร่วมมือญาติ ผู้มารับบริการทุกท่านปฏิบัติดังนี้

  1. ห้ามนำรถเข้ามาในเขตโรงพยาบาลโพธิ์ไทร (ยกเว้นรถ ฉุกเฉิน , รถรับ-ส่งผู้ป่วยแล้วขับวนออก และรถเจ้าหน้าที่)
  2. ต้องสวมหน้ากากอนามัย, วัดอุณหภูมิ, ทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์หรือล้างมือด้วยสบู่เหลว, ยืนเว้นระยะห่าง และคัดกรองประเมินความเสี่ยงการติดเชื้อโควิด –19 และสแกนไทยชนะ
  3. กรณีรับส่งสิ่งของให้จอดรถข้างนอก ให้รับ – ส่งที่จุดป้อมยามเท่านั้น
  4. การเยี่ยมผู้ป่วย
    • กำหนดเวลาเยี่ยมผู้ป่วย ช่วงเช้า 11.00-13.00 น.
    • อนุญาตให้เฝ้าได้ 1 คน (เฉพาะคนไข้ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้)
    • การเข้าเยี่ยมเยี่ยมได้ครั้งละ 1 คน ต้องมีบัตรอนุญาตเยี่ยม โดยติดต่อเจ้าหน้าที่ประจำตึก
    • แนะนำให้ญาติผู้ป่วยเยี่ยมทางโทรศัพท์ วีดีโอคอลหรือวีธีอื่น ๆ แทนการเดินทางมาโรงพยาบาล

 

สอบถามรายละเอียดได้ที่ 045-496000 ต่อ 0

ประกาศ ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อป้องกันความเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อ กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลโพธิ์ไทรมีความจำเป็นต้อง เลื่อน/งดให้บริการ

ประกาศ ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อป้องกันความเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อ กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลโพธิ์ไทรมีความจำเป็นต้อง เลื่อน/งดให้บริการ ดังนี้

  • ขูดหินปูน
  • อุดฟัน (ไม่เร่งด่วน)
  • หัตถการอื่น ๆ ที่ฟุ้งกระจายและไม่เร่งด่วน

หากสถานการณ์ดีขี้น จะกลับมาให้บริการตามปรกติโดยเร็วที่สุด ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้

กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลโพธิ์ไทร

สอบถามรายละเอียดได้ที่ 045-496000 ต่อ 0, 301