ภาพบรรยากาศ งานประเพณี แห่เทียนพรรษา ประจำปี ๒๕๖๐ วันที่ ๕-๙ กรกฎาคม ๒๕๖๐ เทศบาลตำบลโพธิ์ไทร อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี
[fbalbum url=https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1568215713223161.1073741981.311434945567917]
Category Archives: ข่าวทั่วไป
อำเภอโพธิ์ไทร ร่วมใจบริจาคโลหิต
ภาพบรรยากาศ อำเภอโพธิ์ไทร ร่วมใจบริจาคโลหิต ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ที่หอประชุมอำเภอโพธิ์ไทร
[fbalbum url=https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1568191166558949.1073741980.311434945567917]
โรงพยาบาลโพธิ์ไทรรับรางวัลโรงพยาบาลระดับดีในโครงการ “สาธารณสุขรวมใจลดโลกร้อน GREEN & CLEAN Hospital”
เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2560 โรงพยาบาลโพธิ์ไทรรับรางวัลโรงพยาบาลระดับดีในโครงการ “สาธารณสุขรวมใจลดโลกร้อน Green and Clean Hospital” จาก นายแพทย์จิณณพิภัทร ชูปัญญา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี
[fbalbum url=’https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1567031483341584.1073741979.311434945567917′]โครงการสาธารณสุขรวมใจลดโลกร้อน Green and Clean Hospital
ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากร การขยายตัวของเมือง การขยายตัวภาคอุตสาหกรรม มลพิษสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพ สังคม และสุขภาพของประชาชน ก่อให้เกิดปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภาวะโลกร้อน และส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับโลก เช่น สหประชาชาติที่มีการผลักดันให้หลายประเทศบรรลุผล MDG (Millennium Development Goal) ในปี ๒๐๑๕ โดยมีแนวคิดในเรื่องการใช้ประโยชน์จากการสุขาภิบาลนำไปใช้ประโยชน์และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และรัฐบาลมีนโยบายกำหนดให้ทุกกระทรวงดำเนินการตามยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การพัฒนางานอนามัยสิ่งแวดล้อม จึงมุ่งเน้นการจัดการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Sustainable and Ecological Sanitation) โดยการดำเนินกิจกรรม GREEN ได้แก่
- G : Garbage คือ การจัดการมูลฝอยและการใช้ประโยชน์จากขยะและสิ่งปฏิกูลด้วยหลักการ 3 Rs
- R : Res room คือ การจัดการส้วมสาธารณะให้ได้มาตรฐาน HAS ตลอดจนส่งเสริมพฤติกรรมการ ใช้ส้วมสาธารณะอย่างถูกต้อง
- E : Energy คือ ลดการใช้พลังงานและพลังงานทดแทนจากชีวภาพและชีวมวล และลดการใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อประหยัดทรัพยากร
- E : Environment คือ การจัดการสิ่งแวดล้อมที่ช่วยลดภาวะโลกร้อน และเอื้อต่อสุขภาพ โดยเน้นหลัก ๕ ส. จดสถานที่ทำงานให้น่าอยู่ น่าทำงาน และปลูกต้นไม้เพื่อความร่มรื่น
- N : Nutrition คือ รณรงค์อาหารปลอดสารพิษ ดูแลสุขภาพด้วยการบริโภคผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง เพื่อลดการใช้สารเคมี
กลยุทธ์ CLEAN
- C : Communication การสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างความเข้าใจ
การดำเนินงานโครงการสาธารณสุขรวมใจ รณรงค์ลดโลกร้อน เป็นการดำเนินงานโดยอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย และการสื่อสารสาธารณะด้วยการสร้างกระแสผลักดันให้หน่วยงานต่างๆ ตลอดจนประชาชนมีความเข้าใจและเกิดความตระหนัก เกิดความร่วมมือในการลดภาวะโลกร้อน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย - L : Leader สร้างบทบาทนำเพื่อเป็นตัวอย่างในการดำเนินงาน
การดำเนินงานให้เกิดเป็นศูนย์เรียนรู้ ร่วมลดโลกร้อน เพื่อเป็นต้นแบบในการดำเนินงานลดภาวะโลกร้อนในสถานบริการสาธารณสุข ด้วยแนวคิดการจัดการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Sustainable and Ecological Sanitation) ด้วยวิธีการที่เหมาะสม มีการขยายผลสู่การเป็นศูนย์สาธิตและดำเนินกิจกรรม GREEN ให้ครบทั้ง 5 ด้าน สามารถเป็นแหล่งถ่ายทอดการเรียนรู้สู่สาธารณะได้ - E : Effectiveness ให้บังเกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพ
ส่งเสริมให้สถานบริการสาธารณสุขดำเนินงานลดโลกร้อน ด้วยกิจกรรม GREEN ให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรม มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ด้วยการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของสถานบริการสาธารณสุขที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงาน และมีระบบการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน โดยพิจารณาจากการดำเนินงานกิจกรรม GREEN ครบทั้ง 5 ด้าน มีผลงานเป็นต้นแบบสามารถขยายผลสู่ชุมชน นำไปสู่ความร่วมมือลดโลกร้อนของชุมชน - A : Activity สร้างกิจกรรมเพื่อสร้างจิตสำนึกอย่างมีส่วนร่วม
มีการเชิญชวนให้บุคลากรในสถานบริการสาธารณสุข หน่วยงานอื่น และชุมชนเข้าร่วมโครงการ ฯ โดยชี้แจงให้ผู้บริหารและบุคลากรในสถานบริการสาธารณสุขเข้าใจและตระหนักต่อปัญหาภาวะโลกร้อน และแนวทางการลดภาวะโลกร้อนด้วยหลักการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้กิจกรรม GREEN และมีการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมภายในสถานพยาบาล และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีการสรุปบทเรียนเพื่อการจัดการความรู้ โดยการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกัน อันจะนำไปสู่นวัตกรรมใหม่ๆ ต่อไป - N : Networking ร่วมกับภาคีเครือข่ายในการดำเนินงาน
สถานบริการสาธารณสุขมีการดำเนินงานโครงการสาธารณสุขรวมใจ รณรงค์ลดโลกร้อน โดยการสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ชุมชน และท้องถิ่น มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินงานลดโลกร้อนร่วมกัน และมีการขยายผลการดำเนินงานสู่สถานบริการสาธารณสุขอื่นๆ และหน่วยงานอื่นๆ ต่อไป
ขอเชิญร่วมบริจาคโลหิตในวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ณ หอประชุมอำเภอโพธิ์ไทร เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป
ขอเชิญร่วมบริจาคโลหิตในวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ณ หอประชุมอำเภอโพธิ์ไทร เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป
การเตรียมตัวก่อนบริจาคโลหิต
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ในเวลานอนปกติของตนเอง ในคืนก่อนวันที่จะมาบริจาคโลหิต
- สุขภาพสมบูรณ์ทุกประการ ไม่เป็นไข้หวัด หรืออยู่ระหว่างรับประทานยาแก้อักเสบใดๆ
- รับประทานอาหารมื้อหลัก ก่อนมาบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ อาหารที่ประกอบด้วยกะทิ แกงต่างๆ ของทอด ของหวาน ฯลฯ เนื่องจากจะทำให้สีของพลาสมาผิดปกติเป็นสีขาวขุ่น ไม่สามารถนำไปใช้ได้
- ดื่มน้ำ 3-4 แก้ว และเครื่องดื่มเหลวเพิ่ม เช่น น้ำผลไม้ นม น้ำหวาน เพื่อเพิ่มปริมาณ โลหิตในร่างกาย จะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อน เช่น มึนงง อ่อนเพลีย หรือวิงเวียนศีรษะภายหลังบริจาคโลหิต
- งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ก่อนมาบริจาคโลหิตอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
- งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี
คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต
- อายุระหว่าง 17 ปี ถึง 70 ปีบริบูรณ์ ผู้ที่มีอายุ 17 ปี ไม่ถึง 18 ปี ต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง
- ผู้บริจาคโลหิตเป็นครั้งแรก ถ้าอายุเกิน 55 ปี – 60 ปี ให้อยู่ในดุลพินิจของแพทย์ และ พยาบาล
- ผู้บริจาคโลหิตอายุมากกว่า 60 ปี – 70 ปี แบ่งเกณฑ์การคัดเลือกตามาอายุ 2 ช่วง ดังนี้
- การคัดเลือกผู้บริจาคโลหิตอายมากกว่า 60 จนถึง 65 ปี
- เป็นผู้บริจาคโลหิตประจำมาโดยตลอดจนกระทั่งอายุ 60 ปี
- บริจาคโลหิตได้ไม่เกินปีละ 3 ครั้ง คือทุก 4 เดือน
- ตรวจ Complete Blood Count ( CBC ) , Serum Ferritin ( SF ) ปีละ 1 ครั้ง เพื่อประกอบการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพทั่วไป และสำหรับแพทย์ใช้ผลการตรวจ SF ในการติดตามและปรับการให้ธาตุเหล็กทอดแทน
- ผู้บริจาคโลหิตอายุมากกว่า 65 ปี จนถึง 70 ปี
- เป็นผู้บริจาคโลหิตต่อเนื่องสม่ำเสมอในช่วงอายุ มากกว่า 60 ปี จนถึง 65 ปี
- บริจาคโลหิตได้ไม่เกินปีละ 2 ครั้ง คือ ทุก 6 เดือน
- ต้องได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพโดยแพทย์ หรือพยาบาลของธนาคารเลือดหรือหน่วยงานรับบริจาคโลหิตซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจคัดกรองสุขภาพผู้บริจาคโลหิต
- การคัดเลือกผู้บริจาคโลหิตอายมากกว่า 60 จนถึง 65 ปี
- ตรวจ CBC และ SF ปีละ 1 ครั้ง
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอในเวลาปกติของตนเอง ในคืนก่อนวันที่มาบริจาคโลหิต
- ไม่มีอาการท้องเสีย ท้องร่วง ใน 7 วันที่ผ่านมา
- ไม่อยู่ในช่วงน้ำหนักลดอย่างรวดเร็วในระยะ 3 เดือนที่ผานมาโดยไม่ทราบสาเหตุ
- สตรีไม่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร และไม่มีการคลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือน ที่ผ่านมา
- น้ำหนักต้องไม่ลดผิดปกติในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา โดยไม่ทราบสาเหตุ
- หากรับประทานยาแอสไพริน, ยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาแก้ปวดอื่นๆ ต้องหยุดยามาแล้ว 3 วัน ถ้าเป็นยาแก้อักเสบหรือยาอื่นๆ ต้องหยุดยามาแล้ว 7 วัน
- ไม่เป็นโรคหอบหืด, ผิวหนังเรื้อรัง, วัณโรค หรือภูมิแพ้อื่นๆ
- ไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, หัวใจ, ตับ, ไต, มะเร็ง, ไทรอยด์,โลหิตออกง่าย-หยุดยาก หรือโรคประจำตัวอื่นๆ
- หากถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูนหรือรักษารากฟัน ต้องทิ้งระยะอย่างน้อย 3 วัน
- หากเคยได้รับการผ่าตัดใหญ่ต้องเกิน 6 เดือน, ผ่าตัดเล็ก ต้องเกิน 1 เดือน
- ท่านหรือคู่ครองของท่านต้องไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์
- ต้องไม่มีประวัติยาเสพติด หรือเพิ่งพ้นโทษ ต้องเกิน 3 ปี และมีสุขภาพดี
- หากเจาะหู, สัก, ลบรอยสักหรือฝังเข็มในการรักษา ต้องเกิน 1 ปี
- หากมีประวัติเจ็บป่วยและได้รับโลหิตของผู้อื่น ต้องเกิน 1 ปี
- หากมีประวัติเป็นมาเลเรีย ถ้าเคยเป็นต้องหายมาแล้วเกิน 3 ปี หากเคยเข้าไปในพื้นที่ ที่มีเชื้อมาเลเรียชุกชุม ต้องทิ้งระยะอย่างน้อยเกิน 1 ปี จึงบริจาคโลหิตได้
- ต้องไม่ได้รับวัคซีนในระยะ 14 วัน หรือเซรุ่มในระยะ 1 ปี ที่ผ่านมา
- ก่อนบริจาคโลหิตต้องรับประทานอาหารให้เรียบร้อย หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวข้าวหมู ของทอด ของหวาน แกงกะทิต่างๆ
เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอโพธิ์ไทร รับโล่เกียรติคุณ จากอธิบดีกรมสุขภาพจิต “การบูรณาการการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุตำบลสองคอน”
เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2560 เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอโพธิ์ไทร รับโล่เกียรติคุณ จากอธิบดีกรมสุขภาพจิต “การบูรณาการการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุตำบลสองคอน” ภายใต้ระบบสุขภาพระดับอำเภอลงสู่ชุมชนยอดเยี่ยมระดับประเทศ ณ โรงแรมปรินซ์พาเลส มหานาค
การประชุมศูนย์เพิ่มรายรับครั้งที่ 2/2560
ภาพบรรยากาศ บรรยากาศการประชุมศูนย์เพิ่มรายรับครั้งที่ 2/2560 ในวันที่ 22 มิถุนายน 2560 ห้องประชุมร่มโพธิ์ไทร โรงพยาบาลโพธิ์ไทร
[fbalbum url=https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1553530891358310.1073741977.311434945567917]
ราชกิจจาฯ เผยแพร่แนวปฏิบัติการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ
เมื่อวันที่ 24 มี.ค. ราชกิจจานุเบกษา ได้มีการเผยแพร่ประกาศคำสั่งจากคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติให้มีผลบังคับใช้ตามกฏหมายโดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 25(10) แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 5/2559 เมื่อวันที่ 23กันยายน 2559 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ พ.ศ. 2559 โดยพลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัยรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็นผู้ลงนามเมื่อวันที่30 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ประกาศฉบับนี้จึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สาระสำคัญของ ประกาศฉบับนี้ แนวทางปฏิบัตินี้เป็นแนวทางเบื้องต้น เพื่อประกอบการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งรวมถึงการใช้งานในเรื่องวิชาชีพและส่วนตัวที่อาจเกี่ยวข้องหรือส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย วิชาชีพ หรือระบบสุขภาพโดยรวมของสภาวิชาชีพ สถานพยาบาล องค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชน และผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ โดยสื่อสังคมออนไลน์ รวมถึงกระดานข่าว เครือข่ายสังคมออนไลน์ บล็อก เว็บไซต์สำหรับสรา้งและแก้ไขเนื้อหาร่วมกัน เช่น วิกิพีเดีย เกมออนไลน์หรือโลกเสมือนที่มีผู้ใช้งานหลายคน สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อออนไลน์อื่นที่เป็นช่องทางสื่อสารระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล หรือสาธารณะ และสื่อสำหรับการเผยพร่และแลกเปลี่ยนเนื้อหาที่เป็นภาพนิ่ง เสียง วีดิทัศน์ หรือแฟ้มข้อมูลหรือเนื้อที่เก็บข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
โดยให้ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามหลักการที่มีการกำหนดไว้ในแนวทางฉบับนี้ อาทิ หลักการเคารพกฎหมาย หลักการเคารพในจริยธรรมแห่งวิชาชีพ หลักการเคารพในกฎระเบียบและนโยบายขององค์กร หลักการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และการหลีกเลี่ยงการทำให้ผู้อื่นเสียหาย หลักการรายงานพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ และหลักเสรีภาพทางวิชาการ
สามารถดาวน์โหลดราชกิจจานุเบกษาฉบับเต็มได้ที่
Download “ประกาศคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ พ.ศ. 2559” 12.PDF – Downloaded 1822 times – 182.05 KB
ข้อมูลเพิ่มเติม
การตรวจเยี่ยมส่งเสริมการเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยตามมาตรฐาน HA
ภาพบรรยากาศ การตรวจเยี่ยมส่งเสริมการเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยตามมาตรฐาน HA โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เขต 10 จังหวัดอุบลราชธานี วันที่ 9 มิถุนายน 2560 ณ ห้องประชุมร่มโพธิ์ไทร โรงพยาบาลโพธิ์ไทร
[fbalbum url=https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1537187972992602.1073741976.311434945567917]
เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอโพธิ์ไทรรับมอบโล่รางวัลเครือข่ายที่มีผลการพัฒนางานดีเด่น ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2560
เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2560 เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอโพธิ์ไทรรับมอบโล่รางวัลเครือข่ายที่มีผลการพัฒนางานดีเด่น ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2560 จากนายแพทย์จิณณพิภัทร ชูปัญญา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ณ ห้องประชุมโรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ โดยแยกเป็นสาขาดังนี้
- เครือข่ายที่มีผลการดำเนินงานดีเด่น รอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2560
- คปสอ.ที่มีผลงานโดดเด่นด้านโรคไม่ติดต่อ ปี 2560
- คปสอ.ที่มีการพัฒนาตำบลดูแลผู้สูงอายุระยะยาวดีเด่น ปี 2560
- อำเภอที่มีบูรณาการดำเนินงานสุขภาพจิตในระบบสุขภาพอำเภอดีเด่น ปี 2560
- การบริหารจัดการด้านการเงินการคลังดีเด่น ปี 2560
โรงพยาบาลโพธิ์ไทรรับมอบไม้เท้า 10 อัน ไม้เท้าช่วยเดินแบบ 4 ขา 5 อัน และ วอล์คเกอร์ 3 ตัว จากคุณสุธีรา วิสุทธิเสน จันทร์แจ่ม
วันที่ 22 พฤษภาคม 2560 โรงพยาบาลโพธิ์ไทรรับมอบไม้เท้า 10 อัน ไม้เท้าช่วยเดินแบบ 4 ขา 5 อัน และ วอล์คเกอร์ 3 ตัว จากคุณสุธีรา วิสุทธิเสน จันทร์แจ่ม
[fbalbum url=https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1518819848162748.1073741973.311434945567917]
โรงพยาบาลโพธิ์ไทรขอขอบคุณท่านผู้มีจิตศรัทธาที่ร่วมบริจาคในครั้งนี้ ท่านผู้มีจิตศรัทธาที่ประสงค์ติดต่อบริจาคสามารถติดต่อได้ที่ โรงพยาบาลโพธิ์ไทร โทรศัพท์. 045-496000, 045-496058