News

R2R ต่างกับ CQI ตรงไหน

หลายคนคงมีปัญหาสงสัยว่างานที่ทำอยู่เป็นงานวิจัย R2R หรือยัง? หรือหลายคนยังเข้าใจคลาดเคลื่อนว่างานที่ทำอยู่เป็นงานวิจัย R2R แล้วและอีกหลายคนกลับยังไม่รู้ตัวว่างานที่ทำอยู่เป็น R2R ได้แล้วหรือเพียงแค่ปรับเปลี่ยนเล็กน้อยเท่านั้

Continouns Quality Improvement(CQI)

คำว่า CQI อาจจะแปลตรงตัวเป็นภาษาไทยว่า การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง มีความหมายในเชิงหลักการหรือในเชิงวิธีการ ใยเชิงหลักการแล้ว CQI จะมีความหมายใกล้เคียง Total Quality Management (TQM) คือการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ในการปรับปรุงระบบงานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับผลงานอย่างไม่หยุดยั้ง โดยมุ่งไปสู่ความเป็นเลิศ ดังนั้นเราก็น่าจะรู้อยู่แล้วหรือคาดเดาได้ค่อนข้างแน่นอนแล้วว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ต้องดี เพียงแต่ว่าจะดีแค่ไหนเท่านั้นเอง คำนิยามภาษาอังกฤษ ก็มีคนนำเสนอดังนี้

CQI is an analytical decision making tool which allows you to see when a process is working predictably and when it is not. Variation is present in any process, deciding when key to quality control.

(เป็นเสมือนเครื่องมือสำหรับช่วยการวิเคราะห์ตัดสินใจในกระบวนการทำงานที่สามรถคาดการณ์ล่วงหน้าไว้ได้ เนื่องจากมีความหลากหลายของกระบวนการทำงาน จึงเป็นปกติอยู่องที่จะต้องมีการตัดสินใจอยู่เสมอว่าจะเลือกแบบไหนที่เหมาะสม ที่ดีที่สุดมาใช้ หรือแก้ไขกระบวนการใดเพื่อให้ได้คุณภาพที่ต้องการมากที่สุด)

ขั้นตอนของ CQI

ขั้นตอนของการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องคือการใช้แนวคิด Plan-Do-Check-Act (PDCA)คล้ายกับการออกแบบทดลองหรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาใช่ร่วมกับความคิดสร้างสรรค์

  • Plan คือการวางแผนทำเพื่อแก้ปัญหาโดยอาศัยข้อมูลที่มี
  • Do คือการนำความคิดดังกล่าวไปปฏิบัติ
  • Check คือการวัดผลการปฏิบัติดังกล่าวAct คือการนำผลไม
  • ปฏิบัติในชีวิตประจำวันอย่างสม่ำเสมอ

ในขั้น Plan นั้นอาจจะมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นเพื่อให้กำหนดความคิดที่แก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม ได้แก่

  1. การวิเคราะห์สภาพปัญหา ว่าปัญหาเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไร กับใคร อย่างไร มีกระบวน
  2. การอะไรที่เกี่ยวข้องการวิเคราะห์ระดับของปัญหา สามารถวัดข้อมูลที่สะท้อนระดับของปัญหาได้ด้วยวิธีใด
  3. การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา อะไรคือสาเหตุหลักของการเกิดปัญหา สามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุรากเหง้าได้หรือไม่ มีข้อมูลประกอบหรือไม่ว่าสาเหตุใดเป็นสาเหตุสำคัญ
  4. การวิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ปัญหา เป็นการนำสาเหตุ รากเหง้าที่สำคัญมาวิเคราะห์ว่าจะลดหรือขจัดออกไปได้อย่างไร โดยอาศัยแนวคิดเชิงกลยุทธ์และความคิดสร้างสรรค์ประกอบกัน ทางเลือกในการแก้ปัญหาอาจมีหลายทางเลือก อาจจะใช้ร่วมกัน หรืออาจจะต้องวิเคราะห์เปรียบเทียนเพื่อเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อได้ทางเลือกแล้ว ยังต้องวิเคราะห์ที่แรงหนุนและแรงต้านของผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนลดแรงต้านและใช้แรงหนุนให้เป็นประโยชน์

ขั้นตอนข้างต้นนี้เป็นกระบวนการสากลซึ่งปรากฏอยู่ในการพัฒนาหรือการแก้ปัญหาทุกเรื่องการดูแลรักษาผู้ป่วย ประกอบด้วยการประเมินปัญหาของผู้ป่วย การวิเคราะห์สาเหตุ การสั่งการรักษา การติดตามประเมินผล รูปแบบนี้มีองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ

  1. คำถามพื้นฐาน 3 ข้อ ซึ่งอาจจะสลับคำถามข้อใดก่อนก็ได้ ได้แก่
    • ตั้งเป้า (Set aim) อะไรคือสิ่งที่เราพยายามจะทำให้เสร็จ
    • เฝ้าดู(establish measure) ใช้ตัวชี้วัดใดบอกว่าผลดีขึ้นปรับเปลี่ยน(devel
    • op changes) การเปลี่ยนแปลงใดบ้างที่จะทำให้คุณภาพดีขึ้น
  2. การนำวงล้อ PDCA หรือ PDSA โดย S หมายถึง study มาศึกษาทางเลือกในการเปลี่ยนแปลง
    • Plan กำหนดวัตถุประสงค์ของการทดสอบ,คาการณว่าจะเกิดอะไรขึ้น พร้อมทั้งเหตุผล,จัดทำแผนการทดสอบ
    • Do ดำเนินการทดสอบ,บันทึกปัญหาและสิ่งที่ไม่คาดว่าจะเกิดขึ้น
    • Study
    • Act สรุปผลว่าควรมีการปรับเปลี่ยนอย่างไร,เตรียมแผนสำหรบการทดสอบรอบต่อไป

นอกจากการจำ PDSA, PDCA แล้วยังมีผู้คิดคำย่ออื่นๆอีก เช่น FOCUS ดังนี้

  • F Find a process that needs improvement (หากกระบวนการที่จะมาใช้ปรับปรุงคุณภาพ)
  • O Organize a team knowledgeable about the process(มีการบริหารจัดการทีมด้วยความรู้ตามหลักวิชาการ
  • C Clarity the knowledge about the process(ระบุกระบวนการการแก้ปัญหาให้ชัดเจนตามหลักวิการ
  • U Understand the causes of variations in the process(ศึกษาให้เข้าใจสาเหตุและความหลากหลายของปัญหาและกระบวนการแก้ปัญหา
  • S Select the improvement(เลือกสิ่งที่ต้องการพัฒนาและวัดผล)

R2R กับ CQI เหมือนและแตกต่าง

  • R2R ต้องผ่านคณะกรรมการวิจัย,ต้องใช้ระเบียบวิธีวิจัย,ต้องพิสูจน์ให้ได้หลักฐานเชิงประจักษ์
    เป็นอะไรที่คล้ายคลึงกัน แต่ต่างกันที่ การทบทวนของ CQI จะน้อยกว่า การเก็บข้อมูลจะมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่า แต่มีความรวดเร็วในการแก้ปัญหาเฉพาะ ส่วนงานวิจัยมีการทบทวนวรรณกรรมมากว่า จีการบริหารจัดการที่เป็นระบบมากกว่า CQI, KM และต้องมีแนวคิด,ทฤษฎีมาอ้างอิงที่ชัดเจนกว่า (ขั้นสูงกว่า CQI, KM) สามารถลงวารสารที่รับตีพิมพ์มีประโยชน์เชิงวิชาชีพ มีการรับรองทางจริยธรรม
    สัมพันธ์กันโดยต่างกันก็เป็นเรื่องการจัดการความรู้
  • R2R ต่างจาก CQI , KM ที่การเก็บข้อมูล R2R ต้องมีการจัดทำข้อมูล ค้นคว้างานที่เกี่ยวข้องมากกว่า
  • R2R ต้องมาจากปัญหาในหน่วยงาน ทำเพื่อพัฒนางานแล้วนำมาใช้ในหน่วยงาน, ส่วน KM ใช้ได้เลย ไม่ต้องทำวิจัย,CQI เป็นพื้นฐานในการทำ R2R ต่างกัน
  • KM เป็นเครื่องมือในการได้มาซึ่ง CQI และเมื่อได้ CQI แล้วเก็บข้อมูลเพื่อทำเป็น R2R KM เป็นการนำความรู้จาก CQI มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานและผลการศึกษา สัมพันธ์กันคือ R2R เป็นส่วนหนึ่งของ CQI โดยใช้ KM เป็นกระบวนการหนึ่งเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ขึ้น
  • R2R คือ กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบมีรูปแบบชัดเจน มีข้อมูลอ้างอิงประกอบ มีคำตอบโดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ ส่วน CQI เป็นการพัฒนางาน
  • R2R เกิดจาก CQI ได้ผลลัพธ์แล้ว KM
  • R2R ต้องใช้ระเบียบวิธีวิจัย แก้ปัญหาจากงานประจำ ต่อยอดจาก CQI และKM
  • CQI ใช้PDCA ส่วนKM นำองค์ความรู้เดิมมาใช้
  • R2R เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆที่นำไปใช้ในงานประจำได้
  • R2R มีระเบียบวิธีวิจัย และมีการรวบรวมสถิติข้อมูล เป็นระบบ R2R
  • R2R เป็นการทำงานประจำสู่งานวิจัย ต้องมีคำถามวิจัย คือสิ่งที่เราอยากทำให้เกิดความรู้ใหม่ ส่วน CQI คือการทำงานและพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ KM เป็นการนำความรู้สู่การปฏิบัติ
  • R2R ต่างกัน CQI และ KM ดังนี้ ต่างจาก CQI เนื่องจาก R2R เป็นการใช้ระเบียบวิธีวิจัย แต่ CQI ไม่ต้องใช้ระเบียบวิธีวิจัยก็ได้
  • R2R ต่างจาก CQI แต่มีกระบวนการของการวิจัยที่รูปแบบคล้ายกัน แต่ R2R ได้ผลที่น่าเชื่อถือ ไม่ใช่แค่ผลสำเร็จเหมือน CQI
  • ไม่ต่างกัน เพราะทำให้เราฉลาดและแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ
  • R2R คือ กรเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ซึ่งมี CQI และKM เป็น ส่วนประกอบ
  • R2R ,KM, CQI มีความสัมพันธ์ในลักษณะเป็นวงจร ที่ทิศทางมุ่งพัฒนางานให้ดีขึ้น ต่างกันที่ระเบียบวิธีวิจัย R2R สามารถให้ CQI และ KM มาทบทวนพัฒนาต่อยอด

จากการมองภาพรวมเครื่องมือ 2 ชนิด ดังกล่าวข้างต้น จึงพอสรุปได้ดังนี้

สิ่งที่แตกต่าง

CQI น่าจะเป็นกระบวนการปฏิบัติทีคาดการณ์ได้ว่าจะทำให้ดีขึ้นเสมอ ตามชื่อที่ตั้งขึ้น โดยการรวบรวมข้อมูลและองค์ความรู้ที่มีอยู่แต่ R2R เป็นกระบวนการวิจัย เป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ผลการศึกษาเป็นไปได้ทั้งบวกและลบหรือไม่เปลี่ยนแปลงก็ได้ กระบวนการวิจัยจะเป็นตัวตอบสมมุติฐาน เมื่อพิจารณาดูแล้ว R2R น่าจะเป็นการ uprgade งาน CQI ขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง
R2R น่าจะทำได้ยากหรือซับซ้อนกว่า CQI เพราะมีระเบียบวิจัยที่เป็นสากลเป็นตัวกำหนด ว่าผลจะเชื่อจะเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด

R2R มีคำถามวิจัยที่ชัดเจน แต่ CQI อาจจะเป็นแค่จุดมุ่งหมายหรือผลสำเร็จที่คาดหวังอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ทราบจำนวนเท่าไร จะถึงเป้าหมายที่กำหนดหรือไม่

R2R เน้นความสุขของผู้ปฏิบัติงานเป็นหลัก และมีผลพลอยได้เป็นงานวิจัย ส่วน CQI เน้น ผลงานทีได้เป็นหลัก เพื่อได้ตัวชี้วัดที่บ่งบอกลงานที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น ผู้ปฏิบัติอาจจะคิดว่าเป็นภาระงานก็ได้

สิ่งที่เหมือน

มีกระบวนการที่คล้ายกัน โดยเริ่มจากมองหาปัญหาและวางแผน มีการทบทวนความรู้หรือวรรณกรรม มีการดำเนินการหรือการทำวิจัยศึกษามีการสรุปผลและนำไปประยุกต์ใช้เป้าหมายหลักเพื่อการพัฒนางานให้มีคุณภาพสู่ความยั่งยืนเหมือนกันเกิดการทำงานเป็นทีม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save