Tag Archives: ราชกิจจานุเบกษา

ประกาศเปลี่ยนค่าสีธงชาติไทยใหม่ ตามราชกิจจานุเบกษา

จากกรณีมติคณะกรรมการจัดกิจกรรมฉลองครบรอบ 100 ปี การประกาศใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย ที่มีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มอบหมายให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องการกำหนดมาตรฐานแถบสีธงชาติไทย เพื่อให้มีมาตรฐานสีและเป็นมาตรฐานสีตามหน่วยสากล โดยกำหนดในลักษณะของค่าแนะนำทางราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งการดำเนินงานมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนทั้ง 9 แห่ง คือ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กรมวิทยา ศาสตร์บริการ สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานกฎระเบียบกลาง สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในการคัดเลือกธงต้นแบบ ที่จะกำหนดสี ด้วยวิธีการวัดสีธงต้นแบบจากธงชาติ 3 แหล่ง แบ่งเป็น 1. ธงชาติจากพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ จากธง 2 ประเภท ได้แก่ ธงชัยเฉลิมพล และ ธงไตรรงค์ 2.ธงชาติจากพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย และ 3.ธงจากราชนาวี

ผลการทดสอบค่าแถบสีธงชาติไทย สีน้ำเงินแก่ สีขาว และสีแดง ด้วยเครื่อง Colorimetric spectrophotomete มีดังนี้ กำหนดค่า CIELAB D65 สีแดง ค่า L* = 36.4 , a* = 55.47 , b* = 25.42 สีขาว ค่า L* = 96.61 , a* = -0.15 , b* = -1.48 และสีน้ำเงิน ค่า L* = 18.63 , a* = 7.89 , b* = -19.45 โดยได้กำหนดค่า ∆E* (delta E) ไม่เกิน 1.5

โดยค่าสีธงชาติไทยใหม่ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134 ตอนพิเศษ 245 ง ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2560 เป็นที่เรียบร้อย

ที่มา

About Man Friday

Application Developer, Photographer and WordPress aficionado. Particularly interested in relational database design, In usability, UX and accessibility on software development. I just wear glasses, Lives in Ubonratchathani, Thailand.

ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการคุ้มครองและจัดการข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล พ.ศ. 2561 (ราชกิจจานุเบกษา)

หนังสือ สธ.0212/2161 เรื่อง”ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการคุ้มครองและจัดการข้อมูล ด้านสุขภาพของบุคคล พ.ศ. 2561 ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา”

Download “หนังสือ สธ.0212/2161 เรื่อง ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการคุ้มครองและจัดการข้อมูล ด้านสุขภาพของบุคคล พ.ศ. 2561” bfc4b84f1788b3e46a6caaa55b0c5528.pdf – Downloaded 2407 times – Download “ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการคุ้มครองและจัดการข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล พ.ศ. 2561” 92f46579276d3f3393808e3a4bc8e8eb.PDF – Downloaded 2776 times –

ราชกิจจาฯ เผยแพร่แนวปฏิบัติการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ

เมื่อวันที่ 24 มี.ค. ราชกิจจานุเบกษา ได้มีการเผยแพร่ประกาศคำสั่งจากคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติให้มีผลบังคับใช้ตามกฏหมายโดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 25(10) แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 5/2559 เมื่อวันที่ 23กันยายน 2559 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ พ.ศ. 2559 โดยพลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัยรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็นผู้ลงนามเมื่อวันที่30 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ประกาศฉบับนี้จึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

สาระสำคัญของ ประกาศฉบับนี้ แนวทางปฏิบัตินี้เป็นแนวทางเบื้องต้น เพื่อประกอบการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งรวมถึงการใช้งานในเรื่องวิชาชีพและส่วนตัวที่อาจเกี่ยวข้องหรือส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย วิชาชีพ หรือระบบสุขภาพโดยรวมของสภาวิชาชีพ สถานพยาบาล องค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชน และผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ โดยสื่อสังคมออนไลน์ รวมถึงกระดานข่าว เครือข่ายสังคมออนไลน์ บล็อก เว็บไซต์สำหรับสรา้งและแก้ไขเนื้อหาร่วมกัน เช่น วิกิพีเดีย เกมออนไลน์หรือโลกเสมือนที่มีผู้ใช้งานหลายคน สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อออนไลน์อื่นที่เป็นช่องทางสื่อสารระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล หรือสาธารณะ และสื่อสำหรับการเผยพร่และแลกเปลี่ยนเนื้อหาที่เป็นภาพนิ่ง เสียง วีดิทัศน์ หรือแฟ้มข้อมูลหรือเนื้อที่เก็บข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

โดยให้ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามหลักการที่มีการกำหนดไว้ในแนวทางฉบับนี้ อาทิ หลักการเคารพกฎหมาย หลักการเคารพในจริยธรรมแห่งวิชาชีพ หลักการเคารพในกฎระเบียบและนโยบายขององค์กร หลักการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และการหลีกเลี่ยงการทำให้ผู้อื่นเสียหาย หลักการรายงานพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ และหลักเสรีภาพทางวิชาการ

 ซึ่งในพรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 กำหนดโทษผู้ที่ฝ่าฝืนมาตรา 7 ไว้ว่าต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินจ 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยความผิดนี้เป็นความผิดฐานยอมความได้ 

สามารถดาวน์โหลดราชกิจจานุเบกษาฉบับเต็มได้ที่
Download “ประกาศคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ พ.ศ. 2559” 12.PDF – Downloaded 1784 times – 182.05 KB

ข้อมูลเพิ่มเติม

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)

บัญชียาหลักแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 มีผลบังคับใช้ 11 พฤศจิกายนนี้แล้ว

คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติได้ออกประกาศ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ณ วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ให้ยกเลิกประกาศ คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2559 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 และให้ใช้รายการยาในบัญชีแนบท้ายประกาศฯ เป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ

ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

บัดนี้ ราชกิจจานุเบกษาได้ลงประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ฉบับเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2559 เล่ม 133 ตอนพิเศษ 255 ง หน้า 1 พร้อมเอกสารแนบท้ายประกาศ ขอเชิญผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจศึกษารายละเอียด /download เอกสารที่เกี่ยวข้องได้ที่ …
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา (www.mratchakitcha.soc.go.th) เว็บไซต์บัญชียาหลักแห่งชาติ (http://nlem.in.th) รวมทั้งที่เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข (http://dmsic.moph.go.th) ในส่วนของบริการ download หรือกดที่ link ต่อไปนี้

ที่มา:

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
เว็บไซต์บัญชียาหลักแห่งชาติ

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เครื่องสำอาง 34ยี่ห้อ ห้าม ผลิต-นำเข้า-ขาย มีผลบังคับใช้ 29 มีนาคม 2559

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม มีราชกิจจานุเบกษา ได้ออกประกาศตอนพิเศษ 72 ง เกี่ยวกับ ประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กําหนดชื่อเครื่องสําอางที่ห้ามผลิต นําเข้า หรือขาย พ.ศ. 2559 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 6(1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องสําอาง พ.ศ. 2558 ลงนามในประกาศโดย นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคําแนะนําของคณะกรรมการเครื่องสําอาง ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้เครื่องสําอางที่มีชื่อดังต่อไปนี้ เป็นเครื่องสําอางที่ห้ามผลิต นําเข้า หรือขาย ประกอบด้วย

  1. BEANNE บีแอน ครีมไข่มุกตราแตร
  2. แอนตี้-ฟาร์ ครีม
  3. แอนตี้-ฟาร์ โลชั่นกันฝ้า ปรับผิว
  4. ROSE ครีมขจัดฝ้า
  5. FAR-ACT ครีมรักษาฝ้า
  6. CN คลินิก 99
  7. ครีมฝ้าเมลาแคร์
  8. โลชั่นกันแดด กันฝ้า เมลาแคร์
  9. ครีมวินเซิร์ฟ
  10. โลชั่นวินเซิร์ฟ ลดฝ้ากันแดด
  11. MUI LEE HIANG PEARL CREAM
  12. เอสจี โลชั่นปรับสภาพผิว
  13. เลนาว ครีมบํารุงผิวหน้ากลางคืน
  14. NEW CARE นิวแคร์ ครีมประทินผิว
  15. NEW CARE นิวแคร์ โลชั่นปรับสภาพผิว
  16. 3 ทรีเดย์ ไบรเทน แอนด์ รีไวเทน ครีมลดริ้วรอยหมองคล้ำ
  17. 3 ทรีเดย์ ไบรเทน แอนด์ รีไวเทน โลชั่นป้องกันแสงแดด
  18. 3 ทรีเดย์ เนเชอรัล ครีมทาสิว
  19. 3 ทรีเดย์ เนเชอรัล โลชั่นป้องกันแสงแดด
  20. พรีม ไบรเทน แอนด์ รีไวเทน ครีมลดริ้วรอย
  21. พรีม ไบรเทน แอนด์ รีไวเทน โลชั่นป้องกันแสงแดด
  22. มิสเดย์ ครีมแก้สิว
  23. มิสเดย์ ครีมแก้ฝ้า
  24. พอลล่า ครีมทาสิว
  25. พอลล่า ครีมทาฝ้า
  26. พอลล่า โลชั่นกันแดดรักษาฝ้า
  27. ครีมชาเขียว DR. JAPAN
  28. ครีมชาเขียว MISS JAPAN
  29. ชิชาเดะ ครีมหน้าขาว โสมผสมไข่มุกญี่ปุ่น
  30. ครีมบัวหิมะ หลิง หลิง
  31. ครีม QIAN MEI
  32. ครีม QIAN LI
  33. ครีม CAI NI YA
  34. ครีม JIAO LING

ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคบตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 ผู้ใดผลิตเพื่อขาย นำเข้าเพื่อขาย หรือรับจ้างผลิตเครื่องสำอางดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน200,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ หรือผู้ใดขายเครื่องสำอางดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

Thai_Government_Gazette_21

Download “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดชื่อเครื่องสำอางที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือขาย พ.ศ. 2559” 21.PDF – Downloaded 2444 times – 29.33 KB

ที่มา: