LOINC (Logical Observation Identifiers Names and Codes) เป็นระบบชื่อและรหัสมาตรฐาน (Standard name and coding system) สากลที่ใช้ระบุชนิดของการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (medical laboratory) และการตรวจทางคลินิก (clinical observation) เปรียบเหมือนกับภาษาที่ทำให้ระบบข้อมูลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (Laboratory Information Systems) และระบบระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Health Records) ต่างระบบกัน สามารถสื่อสารเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการ ตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และการตรวจทางคลินิก ทำให้เกิดการทำงานร่วมกัน (Interoperability)
การที่ระบบข้อมูลสุขภาพ (Health Information Systems) จะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและทำงานร่วมกันได้ ต้องอาศัยมาตรฐานข้อมูลสุขภาพหลายชนิด ซึ่ง LOINC เป็นมาตรฐานข้อมูลสุขภาพมาตรฐานหนึ่งที่สำคัญ และจำเป็นในการที่จะทำให้ระบบข้อมูลสุขภาพระบบต่างๆสามารถทำงานร่วมกัน
ที่มาของ LOINC
LOINC เป็นระบบชื่อและรหัสมาตรฐานที่สถาบันรีเกนสทรีฟ (Regenstrief Institute) ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยที่ก่อตั้งโดยไม่แสวงหากำไร และทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยอินดีแอนา (Indiana University) มลรัฐอินดีแอนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ริเริ่มพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ.1994 สืบเนื่องจากในมลรัฐอินดีแอนาขณะนั้น แม้ว่าหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจะสามารถรับส่งข้อมูลห้องปฏิบัติการและข้อมูลการตรวจ ทางคลินิกผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์กันได้ แต่เนื่องจากแต่ละหน่วยงาน ต่างก็กำหนดรหัสและชื่อการตรวจของตนเอง (local names and codes) ทำให้ระบบข้อมูลสุขภาพของต่างหน่วยงานกันไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ จึงเกิดความต้องการที่จะให้ระบบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตรวจทางคลินิกของ หน่วยงานและผู้ให้บริการทางการแพทย์ต่างระบบกันเข้าใจความหมาย (Semantics) ของการตรวจทางคลินิกชนิดต่างๆตรงกัน ซึ่งจะนำไปสู่การทำงานร่วมกันได้ (Interoperable) ของระบบข้อมูล ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการดูแลคนไข้และการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังสุขภาพ งานด้านระบาดวิทยา และสาธารณสุข
ฐานข้อมูลรหัส LOINC (LOINC database) เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันรีเกนสทรีฟ สถาบันฯ ยังคงพัฒนาปรับปรุงดูแลรักษารหัสอย่างต่อเนื่อง ฐานข้อมูลรหัส LOINC เวอร์ชัน 2.40 ซึ่งเป็นเวอร์ชันล่าสุดประกาศเมื่อวันที่ มิถุนายน 2555 ประกอบด้วยคำศัพท์ (terms/concepts) จำนวนมากกว่า 70,000 คำ แบ่งออกเป็น 4 หมวดหลัก (Classtype) ได้แก่
- Laboratory LOINC ครอบคลุมการตรวจทางเคมีคลินิก การตรวจทางโลหิตวิทยา การตรวจทางซีโรโลยี การตรวจทางจุลชีววิทยา การตรวจทางพิษวิทยา การตรวจระดับยา และการตรวจความไวของเชื้อโรคต่อยาปฏิชีวนะ และการตรวจอื่นๆ ทางห้องปฏิบัติการคลินิก
- Clinical LOINC ครอบคลุมการตรวจสัญญาณชีพ การตรวจพลวัตของระบบไหลเวียนเลือด (Hemodynamics) การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) การตรวจอัลทราซาวด์ ซีทีสแกน (CT scan) เอ็มอาร์ไอ (MRI) การตรวจด้วยกล้องที่ใส่เข้าไปในร่างกาย (Endoscopy) การตรวจและการวัดกลไกอันเกี่ยวกับการทำงานของระบบหายใจ (Pulmonary ventilation management) และการตรวจทางคลินิกอื่นๆ
- Claim attachment
- Survey (การวัดโดยใช้เครื่องมือที่เป็นแบบสำรวจ Survey instrument)
ปัจจุบันมีกว่า 140 ประเทศทั่วโลกที่ใช้ LOINC ในระบบข้อมูลสารสนเทศสุขภาพทั้งในระดับองค์กร และในระดับชาติมีหลายประเทศประกาศใช้ LOINC เป็นรหัสการตรวจทางคลินิกของประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา เยอรมัน สวิตเซอร์แลนด์ และประเทศจีน (เฉพาะฮ่องกง) เป็นต้น เพราะนอกจากระบบชื่อและรหัส LOINC จะมีความครอบคลุมการตรวจทางคลินิกเกือบทั้งหมดแล้ว สถาบันรีเกนสทรีฟยังเปิดให้ทั่วโลกใช้ฐานข้อมูลรหัส LOINC และโปรแกรมเครื่องมือที่ช่วยในการจับคู่ รหัส LOINC กับรหัสท้องถิ่น (Local code) ที่ชื่อ RELMA (Regenstrief LOINC Mapping Assistant) รวมถึงคู่มือและเอกสารต่างๆ ของสถาบันฯ โดยไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ แต่ทั้งนี้ไม่อนุญาตให้ผู้ใช้สร้างชื่อและรหัสได้เอง ต้องเสนอชื่อและรหัสการตรวจใหม่ที่ไม่มีในฐานข้อมูลให้คณะกรรมการ LOINC ของสถาบันรีเกนสทรีฟเป็นผู้ตรวจสอบ พิจารณาและประกาศอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้เพื่อให้ชื่อและรหัส LOINC มีความเป็นเอกภาพ
องค์ประกอบของ LOINC
LOINC ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ รหัสและชื่อซึ่งรหัสประกอบด้วย serial code 1-5 หลักบวกกับหลักสุดท้ายเป็น check digit ชื่อมี 6 แกนสำคัญดังตารางนี้
ข้อดีของ LOINC
- มีความเป็นสากลครอบคลุมการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่มีในโลกเกือบทั้งหมด และออกแบบวิธีการกำหนดรหัสให้สามารถรองรับเทคโนโลยีการตรวจใหม่ๆ ที่จะมีเพิ่มขึ้นในอนาคต
- เป็นที่ยอมรับ ใช้กันอย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และอีกหลายประเทศ เช่น เยอรมัน สเปน อาร์เจนตินา สวิตเซอร์แลนด์ ขณะนี้มีรหัส Laboratory ประมาณ 45,895 รายการ, รหัส Clinical Observation ประมาณ 16,601 รายการ, รหัส Attachment 1,327 รายการ และรหัสแบบสำรวจ (Survey forms) 4,527 รายการ [LOINC version 2.38 December 2011]
- มีกระบวนการบำรุงรักษาฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ มีระบบสนับสนุนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และขยายเครือข่ายการร่วมพัฒนาออกไปในหลายประเทศ
- มีโปรแกรมช่วยเหลือในการจับคู่กับรหัสท้องถิ่น (mapping) ที่เรียกว่า RELMA (Regenstrief LOINC Mapping Assistant) สถาบันรีเกนสทรีฟแห่งสหรัฐอเมริกาจัดให้มีการอบรมสำหรับผู้สนใจอย่าง สม่ำเสมอปีละ 2 ครั้ง นอกจากนี้ประเทศต่างๆสามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญของสถาบันมาเป็นวิทยากรอบรมใน ประเทศของตนได้ สำหรับประเทศไทยได้ติดต่อให้ผู้เชี่ยวชาญของสถาบันมาจัดการประชุมเชิง ปฎิบัติการในประเทศไทยในวันที่ 2 มีนาคม 2555
- สามารถนำ LOINC database และ RELMA ไปใช้ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์
เหตุผลที่ประเทศไทยควรนำ LOINC มาใช้
จากรายงานผลการวิจัยเรื่องสถานการณ์ปัจจุบันของการ พัฒนาอีเฮลท์ (eHealth) และระบบข้อมูลสารสนเทศสุขภาพของประเทศไทย ที่สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการร่วมกับองค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ. 2553 พบว่าประเทศไทยมีการพัฒนาบริการและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ (eHealth applications and services) ค่อนข้างแพร่หลาย แต่เป็นการพัฒนาที่กระจัดกระจาย (fragmented) ขาดแนวทางการพัฒนาที่ชัดเจน รวมถึงขาดการบูรณาการการพัฒนาร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ ที่สำคัญคือขาดการพัฒนาในระดับพื้นฐาน (foundations) ของระบบฯ อย่างรุนแรง ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่
- การให้ความสำคัญระดับนโยบายและการกำกับดูแลในระดับประเทศ
- การพัฒนามาตรฐานข้อมูลสุขภาพของประเทศ
- การพัฒนากำลังคนด้านระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ รวมถึงการพัฒนาระบบการศึกษาอบรมในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ เมื่อมองที่มุมของมาตรฐานข้อมูลสุขภาพแล้ว ประเทศไทยยังไม่มีมาตรฐานข้อมูลสำหรับรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการ แพทย์ในระดับชาติ
ซึ่งผลการจับคู่คือ มากกว่า 80% สามารถจับคู่กับรหัส LOINC ได้ เป็น 1-1 23.58% 1-Many 63.07% และเมื่อแยกตามแหล่งรายการตรวจ พบว่าทั้งสองแหล่งจับคู่กับ LOINC ได้มากว่า 80% แต่รายการตรวจขอจังหวัดบุรีรัมย์จับคู่แบบ 1-1 ได้มากกว่ารายการตรวจของกรมบัญชีกลาง เนื่องจากวัตถุประสงค์การใช้งานของทั้ง 2 แหล่งต่างกัน คือ
- รายการตรวจของกรมบัญชีกรมใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการในประเทศ
- รายการตรวจของจังหวัดบุรีรัมย์ใช้สำหรับการทำงานในห้องปฏิบัติการในโรงพยาบาลในจังหวัดบุรีรัมย์
LOINC เป็นระบบชื่อและรหัสมาตรฐานสากลที่ใช้ระบุชนิดของการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทางการแพทย์และการตรวจทางคลินิก ซึ่งครอบคลุมการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เกือบทั้งหมดในโลก โดยมีการใช้อย่างแพร่หลายในนานาประเทศ และจากผลการศึกษาความครอบคลุมของรหัสมาตรฐาน LOINC กับชนิดของกลุ่มการตรวจในระบบข้อมูลของโรงพยาบาลในประเทศเยอรมันของ Martin Dugas พบว่า 88% ของชนิดของกลุ่มการตรวจสามารถจับคู่กับรหัสมาตรฐาน LOINC ได้ ซึ่งประเทศเยอรมันก็ได้นารหัสมาตรฐาน LOINC ไปใช้เป็นรหัสมาตรฐานของการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ในระดับชาติ
จากผลการจับคู่ของบัญชีรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ของกรม บัญชีกลาง พบว่าสามารถจับคู่ได้ 81% และของบัญชีรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ของระบบห้องปฏิบัติการ ทางการแพทย์ของโรงพยาบาลในจังหวัดบุรีรัมย์ได้ 84.15% ซึ่งยังมีบางรายการที่ไม่สามารถจับคู่กับรหัสมาตรฐาน LOINC ได้ เนื่องจาก 4 สาเหตุหลักดังนี้
- ขอบเขตความรู้ทางการแพทย์ของผู้จับคู่รหัส ในกรณีที่ชื่อของรายการตรวจไม่ใช่ชื่อที่เป็นมาตรฐาน เช่น blood sugar ซึ่งต้องเป็นการตรวจ glucose ในเลือด
- การตั้งชื่อรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ท้องถิ่น โดยใช้ภาษาไทย ซึ่งรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ของกรมบัญชีกลางมีการใช้ภาษาไทย ในการตั้งชื่อรายการตรวจเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับรายการตรวจทางห้อง ปฏิบัติการทางการแพทย์ของระบบห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลใน จังหวัดบุรีรัมย์ ทำให้ไม่สามารถจับคู่กับรหัส LOINC และเมื่อมีการแปลงรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์จากภาษาไทยเป็น ภาษาอังกฤษ ทำให้สามารถจับคู่ได้มากขึ้น แต่ไม่ทุกรายการ เพราะขอบเขตความรู้ทางการแพทย์ของผู้จับคู่รหัสที่จะแปลงชื่อรายการตรวจภาษา ไทยเป็นชื่อการตรวจภาษาอังกฤษที่เป็นมาตรฐาน เช่น ทดสอบพยาธิวิทยาทางสมอง ซึ่งตัวผู้ทาการศึกษาไม่สามารถให้คำจำกัดความที่เป็นภาษาอังกฤษได้
- รายการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่ใช้อักษรหรือคำย่อที่ไม่เป็น มาตรฐานสากล เช่น Lap score ต้องเป็น Leukocyte Alkaline Phosphatase score และ OF test ต้องเป็น osmotic fragility test
- รายการตรวจที่ไม่ใช่การตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ เช่น บริการตรวจทางจิตวิทยาทั้งหมด, ทดสอบเชาว์ปัญญา, ค่าบริการ, ผู้จ่ายเลือด และแพทย์ผู้ขอใช้รายการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นรายการที่ไม่สามารถจับคู่กับรหัส LOINC ได้ โดยที่กลุ่มการตรวจวินิจฉัยโดยวิธีพิเศษอื่นๆ จะมีรายการตรวจแบบดังกล่าวเป็นจำนวนมาก
การที่มีการจับคู่แบบ 1-Many จำนวนมาก เป็นผลจากการที่บัญชีรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ท้องถิ่นมีความ ละเอียดของข้อมูลที่อธิบายคุณสมบัติการตรวจน้อยกว่ารหัสของ LOINC ซึ่งมีคุณสมบัติบ่งชี้ถึง 6 มิติ ได้แก่ สิ่งที่ต้องการตรวจ (component), หน่วยในการวัด (properties), เวลา (timing), สิ่งส่งตรวจ (system), รูปแบบการรายงานผล (scale) และวิธีที่ใช้ตรวจ (method) ส่วนบัญชีรายการตรวจของกรมบัญชีกลาง ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการเบิกจ่ายทำให้ต้องกำหนดรายการตรวจด้วยชื่อที่ให้ ความหมายกว้างๆ และมีข้อมูลเพียงสองมิติ คือชื่อและรหัสของชนิดการตรวจ และบัญชีรายการตรวจของระบบการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ของโรงพยาบาล ในจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งใช้ในงานตรวจเชิงปฏิบัติการในโรงพยาบาลจึงมีชื่อที่มีความเฉพาะเจาะจง มากกว่าของรายการตรวจของกรมบัญชีกลาง และมีหน่วยในการวัดที่ทำให้ระบุความจาเพาะของรายการตรวจได้มากขึ้น จึงทำให้รหัสการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ของบุรีรัมย์สามารถจับคู่ แบบ 1-1 ได้มากกว่าของรหัสการตรวจของกรมบัญชีกลาง ตัวอย่างของการจับคู่แบบ 1-Many แสดงในตารางที่ 6
จะเห็นได้ว่า การตรวจค่าฮีมาโตคริตจากรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ท้องถิ่น สามารถจับคู่ได้กับการตรวจของ LOINC หลายรหัส เนื่องจากความละเอียดของการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ท้องถิ่นที่ น้อยกว่า ไม่ว่าจะวิธีการเก็บข้อมูลหรือตัวอย่างที่ใช้ตรวจ ซึ่งรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ท้องถิ่นไม่มี
ปัจจัยสำคัญอีกข้อของการไม่สามารถจับคู่รหัสการตรวจได้คือ ขอบเขตความรู้ของผู้จับคู่รหัสการตรวจ ทั้งนี้เพราะการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์หลายชนิดต้องใช้ความรู้ของ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งควรให้ผู้ที่มีความรู้เฉพาะทางในแต่ละสาขาทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ เช่น โลหิตวิทยา, จุลชีววิทยา, รังสีวิทยา และสาขาอื่นๆ เป็นผู้ทาการจับคู่รหัสรายการตรวจจะทำให้เปอร์เซ็นต์ในการจับคู่สูงขึ้น และควรมีผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เป็นผู้ ตรวจสอบความถูกต้องในการจับคู่รหัสรายการตรวจเพื่อความถูกต้องยิ่งขึ้น
จากผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ท้องถิ่นกับรหัสมาตรฐาน LOINC ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์ที่จับคู่สูงกว่า 80% ทำให้มีความน่าเชื่อถือได้ว่ารหัสมาตรฐาน LOINC สามารถนำมาปรับใช้ในระบบบริการสุขภาพไทย ความเป็นไปได้ที่จะเป็นข้อยืนยันได้ว่า เป็นข้อมูลเพื่อการสนับสนุนในการใช้เพื่อเบิกจ่ายทางด้านข้อมูลสุขภาพ
การเตรียมความพร้อมการนำรหัสมาตรฐาน LOINC ของจังหวัดอุบลราชธานี
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ได้พัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลรหัสรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เป็นมาตรฐานเดียวกันโดยรหัส LOINC เป็นจังหวัดแรก เพื่อก้าวสู่ AEC ซึ่งมีจัดประชุมเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2559 ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี
ที่มา :
About Man Friday
Application Developer, Photographer and WordPress aficionado. Particularly interested in relational database design, In usability, UX and accessibility on software development. I just wear glasses, Lives in Ubonratchathani, Thailand.