เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2560 โรงพยาบาลโพธิ์ไทรรับรางวัลโรงพยาบาลระดับดีในโครงการ “สาธารณสุขรวมใจลดโลกร้อน Green and Clean Hospital” จาก นายแพทย์จิณณพิภัทร ชูปัญญา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี
[fbalbum url=’https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1567031483341584.1073741979.311434945567917′]โครงการสาธารณสุขรวมใจลดโลกร้อน Green and Clean Hospital
ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากร การขยายตัวของเมือง การขยายตัวภาคอุตสาหกรรม มลพิษสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพ สังคม และสุขภาพของประชาชน ก่อให้เกิดปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภาวะโลกร้อน และส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับโลก เช่น สหประชาชาติที่มีการผลักดันให้หลายประเทศบรรลุผล MDG (Millennium Development Goal) ในปี ๒๐๑๕ โดยมีแนวคิดในเรื่องการใช้ประโยชน์จากการสุขาภิบาลนำไปใช้ประโยชน์และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และรัฐบาลมีนโยบายกำหนดให้ทุกกระทรวงดำเนินการตามยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การพัฒนางานอนามัยสิ่งแวดล้อม จึงมุ่งเน้นการจัดการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Sustainable and Ecological Sanitation) โดยการดำเนินกิจกรรม GREEN ได้แก่
- G : Garbage คือ การจัดการมูลฝอยและการใช้ประโยชน์จากขยะและสิ่งปฏิกูลด้วยหลักการ 3 Rs
- R : Res room คือ การจัดการส้วมสาธารณะให้ได้มาตรฐาน HAS ตลอดจนส่งเสริมพฤติกรรมการ ใช้ส้วมสาธารณะอย่างถูกต้อง
- E : Energy คือ ลดการใช้พลังงานและพลังงานทดแทนจากชีวภาพและชีวมวล และลดการใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อประหยัดทรัพยากร
- E : Environment คือ การจัดการสิ่งแวดล้อมที่ช่วยลดภาวะโลกร้อน และเอื้อต่อสุขภาพ โดยเน้นหลัก ๕ ส. จดสถานที่ทำงานให้น่าอยู่ น่าทำงาน และปลูกต้นไม้เพื่อความร่มรื่น
- N : Nutrition คือ รณรงค์อาหารปลอดสารพิษ ดูแลสุขภาพด้วยการบริโภคผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง เพื่อลดการใช้สารเคมี
กลยุทธ์ CLEAN
- C : Communication การสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างความเข้าใจ
การดำเนินงานโครงการสาธารณสุขรวมใจ รณรงค์ลดโลกร้อน เป็นการดำเนินงานโดยอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย และการสื่อสารสาธารณะด้วยการสร้างกระแสผลักดันให้หน่วยงานต่างๆ ตลอดจนประชาชนมีความเข้าใจและเกิดความตระหนัก เกิดความร่วมมือในการลดภาวะโลกร้อน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย - L : Leader สร้างบทบาทนำเพื่อเป็นตัวอย่างในการดำเนินงาน
การดำเนินงานให้เกิดเป็นศูนย์เรียนรู้ ร่วมลดโลกร้อน เพื่อเป็นต้นแบบในการดำเนินงานลดภาวะโลกร้อนในสถานบริการสาธารณสุข ด้วยแนวคิดการจัดการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Sustainable and Ecological Sanitation) ด้วยวิธีการที่เหมาะสม มีการขยายผลสู่การเป็นศูนย์สาธิตและดำเนินกิจกรรม GREEN ให้ครบทั้ง 5 ด้าน สามารถเป็นแหล่งถ่ายทอดการเรียนรู้สู่สาธารณะได้ - E : Effectiveness ให้บังเกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพ
ส่งเสริมให้สถานบริการสาธารณสุขดำเนินงานลดโลกร้อน ด้วยกิจกรรม GREEN ให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรม มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ด้วยการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของสถานบริการสาธารณสุขที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงาน และมีระบบการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน โดยพิจารณาจากการดำเนินงานกิจกรรม GREEN ครบทั้ง 5 ด้าน มีผลงานเป็นต้นแบบสามารถขยายผลสู่ชุมชน นำไปสู่ความร่วมมือลดโลกร้อนของชุมชน - A : Activity สร้างกิจกรรมเพื่อสร้างจิตสำนึกอย่างมีส่วนร่วม
มีการเชิญชวนให้บุคลากรในสถานบริการสาธารณสุข หน่วยงานอื่น และชุมชนเข้าร่วมโครงการ ฯ โดยชี้แจงให้ผู้บริหารและบุคลากรในสถานบริการสาธารณสุขเข้าใจและตระหนักต่อปัญหาภาวะโลกร้อน และแนวทางการลดภาวะโลกร้อนด้วยหลักการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้กิจกรรม GREEN และมีการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมภายในสถานพยาบาล และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีการสรุปบทเรียนเพื่อการจัดการความรู้ โดยการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกัน อันจะนำไปสู่นวัตกรรมใหม่ๆ ต่อไป - N : Networking ร่วมกับภาคีเครือข่ายในการดำเนินงาน
สถานบริการสาธารณสุขมีการดำเนินงานโครงการสาธารณสุขรวมใจ รณรงค์ลดโลกร้อน โดยการสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ชุมชน และท้องถิ่น มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินงานลดโลกร้อนร่วมกัน และมีการขยายผลการดำเนินงานสู่สถานบริการสาธารณสุขอื่นๆ และหน่วยงานอื่นๆ ต่อไป