รัฐบาลปัจจุบันมีนโยบายสำคัญที่จะพัฒนาระบบประกันสุขภาพภาครัฐให้เป็นเอกภาพ ประชาชนในทุกระบบหลักประกันสุขภาพได้รับสิทธิประโยชน์หลักเท่าเทียมกัน ในขณะเดียวกันรัฐก็ต้องควบคุมค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสามารถบริหารจัดการระบบการเงินการคลังสุขภาพในระยะยาว (Long term health financing) ให้มีประสิทธิภาพ สัดส่วนของค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วเกิดจากการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสมและฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น แต่รัฐไม่มีกลไกระบบข้อมูลสารสนเทศด้านยาในการกำกับ ติดตาม และตรวจสอบ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เนื่องจากยังไม่มีบัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานระดับประเทศที่สามารถตอบสนองระบบข้อมูลสารสนเทศด้านยาและการรักษาพยาบาลได้หลายระบบงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับยาของกองทุนประกันสุขภาพของประเทศทั้ง 3 กองทุน คณะกรรมการกำหนดระบบบริหารยา เวชภัณฑ์ การเบิกจ่ายค่าตรวจวินิจฉัยและค่าบริการทางการแพทย์ที่มีรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน จึงให้มีการดำเนินการพัฒนาบัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานของไทย (Thai Medicines Terminology – TMT) เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้บัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานเดียวกัน TMT พัฒนาโดยอ้างอิงมาตรฐานสากล ที่เรียกว่า Systematized Nomenclature of Medicine–Clinical Terms (SNOMED-CT) มาปรับให้เข้ากับบริบทระบบยาของประเทศไทย
ความหมาย
บัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานของไทย คือ บัญชีข้อมูลรายการยาที่มีใช้ในระบบบริการสุขภาพไทย ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลมาตรฐานด้านยา 3 ส่วน ดังนี้
- คำจำกัดความมาตรฐานของยาแต่ละตัว (Term/Name) ได้แก่ คำจำกัดความมาตรฐานที่เกี่ยวกับสารเคมีของตัวยา (substance), ชื่อสามัญ (Generic), ชื่อการค้า (Trade name), dose form, strength, unit of measure, และ pack size
- รหัสที่ชี้เฉพาะ (Uniquely identify) ไปที่คำจำกัดความมาตรฐานของแต่ละมุมมอง (Concepts) ของยาแต่ละตัว
- ความสัมพันธ์ (Relationships) ระหว่างแต่ละมุมมอง (Concepts) ของยาแต่ละตัว ที่สามารถบ่งชี้ ถึงความสัมพันธ์ของ concept ต่างๆของยาแต่ละตัว เช่น synonym concept, substance concept, trade product concept เป็นต้น
Dictionary ของ data Model ที่ใช้ในรหัสยามาตรฐาน TMT
ประโยชน์ของการมีบัญชีข้อมูลและรหัสยามาตรฐาน
- สามารถใช้งานได้หลายระบบงาน
- ใช้ในระบบข้อมูลการบริหารจัดการ (administration) ด้านยา ควบคุมการใช้ยาให้เหมาะสมได้ทั้งในระดับประเทศ และระดับองค์กร (กองทุนประกันสุขภาพ,โรงพยาบาล) เช่น การติดตามกำกับดูแลค่าใช้จ่ายด้านยา บริหารจัดการสินค้าคงคลัง (inventory) เป็นต้น
- ใช้ในระบบข้อมูลการให้บริการของผู้ให้บริการ (Health Care Services) เช่น การสั่งยา (drug prescription) การจ่ายยา (drug dispensing) การบริหารยาให้กับผู้ป่วย (drug administration) ทำให้ระบบการบริการสุขภาพมีความปลอดภัยมากขึ้น
- สนับสนุนการพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการตัดสินใจทั้งด้านบริหารจัดการ (Executive and Management Decision support) และระบบการตัดสินใจทางคลินิก (Clinical decision support)
- ใช้ในระบบข้อมูลทางสาธารณสุข (Public Health) เช่น ระบบข้อมูลด้านระบาดวิทยาและการติดตาม/ประเมินการใช้ยา (drug utilization) ภาวะไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากยา (Adverse Drug Reaction-ADR) ภาวะดื้อยา (drug resistance)
- ทำให้เกิดระบบระบบข้อมูลสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Health Records- EHR) ต่างระบบกัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศทางานร่วมกันได้ (Interoperability) สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลในระบบการส่งต่อผู้ป่วย (Referral system)
- เพิ่ม Competitive advantage ให้กับประเทศไทยในการให้บริการสุขภาพระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นผู้นาในสมาคมอาเซียน (Asian Community) เนื่องจากสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลการใช้ยาของผู้ป่วยในประเทศพัฒนาแล้ว สนับสนุนการเป็น Medical Hub ในเอเชียแปซิฟิก
ทำไมควรใช้รหัสยา TMT เป็นมาตรฐานรหัสยา
คุณสมบัติที่ควรมี | รหัสยา TMT | รหัสยา 24 หลัก |
ข้อมูลขนาดการใช้ (Unit of Use) และขนาดบรรจุ (Pack size) | ||
การเบิกจ่ายยาเป็นรายรายการในระดับ Trade product | ||
Uniquely identify ยา ทั้งในระดับ Generic และ Trade product | ||
จำนวนหลักของรหัส | 6-18 | 24 |
ระบบตรวจสอบการลงรหัสผิด (Check digit system) | ||
เชื่อมโยงระบบข้อมูลการสั่งยา (Drug Prescribing) ของแพทย์กับระบบข้อมูลการจ่ายยา (Drug Dispensing) ของเภสัชกรและระบบข้อมูลการบริหารยาของพยาบาลได้ (Drug Administrating) | ||
สอดคล้องกับมาตรฐานสากล | (SNOMED-CT) |
เอกสารเผยแพร่
[Download not found]ที่มา/ข้อมูลเพิ่มเติม
- ศูนย์พัฒนามาตรฐานระบบข้อมูลสุขภาพไทย
http://www.this.or.th/tmt.php